วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Assignment #4 Professional Practice 53

งานชิ้นที่ 4 ของวิชา ปฏิบัติวิชาชีพ ชั้นปีที่ สถ.5

สัมภาษณ์ "สถาปนิก Idol รุ่นพี่ลาดกระบัง"


การปฏิบัติการครั้งนี้เป้าหมายของเราคือ
OFFICE เล็กๆในหมู่บ้านรื่รมย์ แถวๆ ตลิ่งชัน

หลังจากที่โทรศัพท์ถามทางOFFICE เรื่องเส้นทางและที่อยู่ของบริษัทในที่สุดเราก็มาถึง
OFFICE เล็กๆในหมู่บ้านรื่รมย์ ซึ่งเคยเป็นทาวเฮาส์ 2 ห้องมาก่อน ซึ่งมีร่องรอยการต่อเดิม
มาเป็น สำนักงานให้เห็นอยู่ ชายวัยกลางคนท่าทางดุดันออกมาต้อนรับเราแล้วบอกให้นั่งรอ
หน้า OFFICE เพราะว่าตอนนี้เป็นเวลางานอยู่ ซึ่ง OFFICE จะเลิก 16.30 น. แต่เราไปถึงที่หมาย
ก่อนเวลาครึ่ง ชม. ในภาระกิจการสัมภาษณ์ครั้งนี้ เป้าหมายของเราคือ "พ่อพี่หวาน" คุณพ่อของ
รุ่นพี่คนหนึ่งในคณะซึ่งเขาแนะนำให้มาสัมภาษณ์พ่อของตนเอง ซักพักก็ มีคนเดินมาบอกว่า
ให้เข้าไปนั่งรอใน OFFICE และหลังจาก 16.30 น.ก็เริ่มปฏิบัติภารกิจในการสัมภาษณ์ทันที

ชายวัยกลางคนที่ออกมาต้อนรับเราในตอนแรกมานั่งที่เก้าอี้รับแขกแล้วก็บอกว่า " เอ้า สัมภาษณ์เลย "
และแล้วการสัมภาษณ์ก็ได้เริ่มขึ้น

คำถามแรกคืออยากทราบประวัติส่วนตัวของพ่อพี่หวานครับ
ชื่อ ยุงยุทธ ศรีอุทัย
ประวัติการศึกษา
ประถม เรียนที่นครราชสีมา
มัธยมต้น อัชสัมชันศรีราขา
มัธยมปลาย โรงเรียนสวนกุหลาบ
อำนวยศิลป์
ปริญญาตรี คณะสถาปัตย์ลาด จบการศึกษา ปี 2521

ปัจจุบันตำแหน่ง
MANAGING DIRECTOR บ.BRAINIA NARIN & ASSOCIATES

ลักษณะงาน รับออกแบบคารทุกประเภท

ขออณุญาตเรียกว่าพี่ยงยุทธแล้วกันนะครับ

อยากให้ พี่ยงยุทธ ยกตัวอย่างงานที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการประกอบวิชาชีพหน่อยครับ

ในแง่ไหนมันมีหลายอย่าง
ในแง่การแก้ปัญหา
ในแง่งานตามเป้าหมาย หรืออะไร?

อยากให้ยกตัวอย่างมาซักหนึ่งงานครับในแง่ไหนก็ได้ครับที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อรุ่นน้องที่จะจบไปประกอบวิชาชีพ

เอางี้เอาเป็นงาน Fifty-Fifth Tower ซอยทองหล่อเป็นงานที่ถือว่าประสบกความสำเร็จในทุกด้านในด้านการออกแบบและในด้านลูกค้าด้วย

ประสบความสำเร็จยังไงครับ

คือแบบนี่เราใช้พื้นที่ได้คุ้มค่า ส่วนของลูกค้าก็ในเรื่องการขาย สามารถขายหมดได้อย่างรวดเร็ว ก็ทำให้เป็นอาคารที่ทำชื่อเสียงให้กับบริษัท

มีอุปสรรคในการทำงานบ้างมั้ยครับ

อ๋อมันต้องมีอยู่แล้วก็เป็นเรื่องอุปสรรคธรรมดาของเรื่องงานก่อสร้าง เช่น บางทีการเขียนแบบบางทีมันเขียนไม่ครบถ้วน เพราะว่าบางทีเราทำแบบมันไม่เหมือนกับสร้างจริงไง บางทีในแบบเรามองไม่หมด ก็มีการขอDetail เพิ่มเติมหรือทำแบบก้ไขไป




                                                     FiFty-FiFth TOWER



พี่ยงยุทธมีแนวคิดในการทำงานยังไงบ้างครับ

ก็คือสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า ก็คือประโยชน์ในทุกๆด้าน
ประการแรกก่อนก็คือด้านการใช้สอย
ประการที่สอง ก็คือในเรื่องของงบประมาณ
ประการที่สามก็คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม

มีหลักในการประกอบวิชาชีพอย่างไรบ้างครับ

หลักมันก็ไม่มีอะไรมากก็ทั่วๆไปคือเราต้องซื่อสัตย์ต่ออาชีพ อย่าหลอกลูกค้า อย่าหวังที่จะไปหาผลประโยชน์จากลูกค้า หรือมีอะไรแอบแฝง เมื่อตกลงกับลูกค้าแล้วก็ต้องปฏิบัติงานให้กับลูกค้าเต็มที่ไม่ว่าค่าตอบแทนจะเป็นเท่าไหร่ ก็ถือว่าเรายอมรับตรงนั้นแล้ว ถ้าอย่างงั้นอย่ารับดีกว่า

คิดเห็นอย่างไรกับการออกแบบที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น การใช้ LEED มาควบคุมอาคาร

เป็นเรื่องที่ต้องคำนึวถึงอย่างมาก แล้วต้องคิดกันมานานแล้ว แต่ในปัจจุบันเราไม่ค่อยได้ใส่ใจคือจริงๆแล้วในสถาบันการศึกษาก็ไม่ค่อยได้พูดถึงตรงนี้ด้วย ทั้งๆที่เป็นเรื่องสำคัญ ในประเทศไทยมันควรจะใช้ LEED มานานแล้ว ผมศึกษาเรื่องนี้มาเป็น 10 ปีแล้วมันมีมาเป็น 10 ปีแล้วจริงๆมันควรจะมีผลต่อทางภาครัฐ ถ้าอาคารนี้ลงทุนในเรื่องของสิ่งแวดล้อม อาคารนี้ควรจะได้ส่วนลดอะไรบ้าง ก็เป็นการให้รู้สึกว่าเจ้าของอาคารกับผู้ลงทุนไม่ได้มาเสียเงินลงทุนกับตรงนี้มากเกินไปเพราะมันมีผลต่อต้นทุนของเขา จริงๆไม่ใช่เฉพาะเรื่องอาคาร สิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้คือต้องรอให้มีผลลัพธ์ออกมาก่อนแล้วค่อยมาคิดกัน รัฐบาลต้องเริ่มดูในเรื่องนี้แล้วคิดก่อนว่ามันจะมีปัญหาอะไรบ้าง


คือน่าจะบังคับใช้ในทางกฎหมายได้หรือยังครับ

มันต้องใช้ ต้องบังคับใช้เพราะตอนนี้ดูสิที่อื่นเขามองในเรื่องนี้ สังเกตง่ายๆอย่างเรื่อง Green house Effect อย่างน้ำแข็งขั้วโลกที่มันละลาย ในโลกมันเปลี่ยนแปลงไป อย่างเรานี่การใช้พลังงานในอาคาร คือ อย่างเราออกแบบไม่ใช่เอาแต่สวยๆอย่างเดียวไม่คิดถึงเรื่องอื่นก็คือเห็นแก่ตัว อย่างเราเมืองร้อนเนี่ยอากาศเราอยู่ในโซน typical zone เราควรจะทำอาคารยังไง เหมือนอย่างคนอยู่เมืองหนาวเขาก็ใส่เสื้อหนา คนอยู่เมืองร้อนก็ต้องใส่เสื้อที่ระบายอากาศ ไม่ใช่ว่าอยู่เมืองร้อนจะไปใส่เสื้อหนาเหมือนคนเมืองหนาว


ในสมัยที่พี่ยงยุทธยังเรียนอยู่การเรียนและการทำงานในสมัยนั้นมันเป็นอย่างไรบ้างครับ

คือต้องพูดตรงนะว่า กระบวนการสอนเราขาดการมองสภาพความเป็นจริงเราเน้นแต่ในทางทฤษฎีเราให้นักศึกษาไปดูงานจริงน้อยมาก ถ้าไปดูงานจริงนักศึกษาจะได้เข้าใจอะไรได้มากขึ้นเวลาจบออกไปก็จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นรู้อะไรมากขึ้นไม่งั้นเราจบออกไปคือเราไม่รู้อะไรเลย มาได้เอาตอนทำงานซะมากกว่า ซึ่งมันผิดมันควรจะเรียนมาแล้วเนี่ยจบมาต้องทำงานได้ หลายคนเขาพูดว่า ทำงานกับตอนเรียนไม่เหมือนกันเลยทำไมถึงเกิดคำพูดนี้ขึ้นมามันก็สะท้อนจากนโยบายการวางหลักสูตรนโยบายมันมีปัญหาหรือเปล่า โดยความเห็นผมนี่ หลายอย่างก็ไม่รู้จะให้ไปเรียนกันทำไม เรียน STRUCTURE เรียนMATH อังกฤษน่ะจำเป็นนะจำเป็นต้องเรียนแต่ไม่ให้ความสำคัญ เรียนต้องเรียนให้ได้เรื่องด้วยไม่ใช่ให้อังกฤษ 2 หน่วยกิตเงี้ย ต้องให้ 3 เลยเท่าคอนน่ะคือเราต้องไปโลกกว้าง เราต้องค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษทั้งนั้น ซึ่งพวกวิชา STRUCTURE ไรงี้มันทำให้นักศึกษาตกแล้วก็ต้องซ้ำสียค่าใช้จ่ายขึ้นมาเสียค่ารักษาสิทธิ์นักศึกษา ไม่รู้ว่าเคยมองหรือเปล่าระดับผู้บริหารน่ะ คิดดูสิว่านี่มันผ่านมากี่ปีแล้ว สามสิบ สี่สิบปีแล้ว จะให้เราเรียนคำนวณเหมือนวิศวะ มันก็ได้เราก็คำนวณได้เราเด็กวิทย์นี่ แต่ก็ไม่รู้คำนวณไปทำไมเพราะวิศวะก็มีอาชีพของเขาเอาเวลาเหล่านี้มาแบ่งให้กับวิชาหลัก Design Con และอังกฤษ ดีกว่า

อย่างสถาปนิกที่จบใหม่ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่จึงจะสามารถรับงานเองหรือเปิด OFFICE ของตัวเองได้ครับ

มันสองประเภทนะ คือคนที่รู้มากมีประสบการณ์ กับ คนที่ คัน คัน คือยาก น่ะ อย่างผมน่ะเป็นคนที่คัน แต่พอทำงานไปก็รู้ว่าผมเปิดเร็วไป คือบางทีคนก็ไม่เข้าใจ คือเห็นว่าเป็นสถาปนิกก็คิดว่าออกแบบได้ แต่มันก็ต้องใช้ประสบการณ์กันพอสมควร คือมันอยู่ที่ประสบการณ์เป็นตัวสำคัญ แต่ประสบการณ์มันก็ไม่เกี่ยวกับอายุนะ อายุน้อยแต่ประสบการณ์มากทำงานมามากก็มี แล้วมันต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องบริหารด้วย รู้เรื่องออกแบบแต่ไม่รู้เรื่องบริหารก็ไปไม่รอด


พี่ยงยุทธมีหลักการบริหาร OFFICE ยังไงบ้างครับ

ก็ไม่มีหลักการอะไรหรอกคือเราก็ต้องทำการตลาด ก็คือ หางานซึ่งก็มาจากพวกคนรู้จัก บางทีก็มีคนมาเห็นงานของเรา จริงๆเราก็เพิ่งทำเว็ปไซต์แสดงผลงานเราออกไป แล้วก็ต้องไปเป็นสมาชิกสมาคมซะ ก็เหมืนทั่วๆไปน่ะเราก็ต้องดูกำลังคนของเรา คนเยอะไปก็เปลืองค่าใช้จ่ายอีก อย่างของเรานี่ก็คนน้อยๆแต่มีคุณภาพ

แล้วอย่างถ้ามีการรับงานโครงการใหญ่ๆนี่พี่ยงยุทธมีการจัดสรรงานกันยังไงบ้างครับ

สิ่งแรกเลยเราก็ต้องดูก่อนว่า เรารับไหวหรือเปล่า ถ้าไม่ไหวก็อาจจะต้องไป ร่วมกับ OFFICE อื่น เราจะไปเปิด OFFICE ใหญ่เลยเราก็ไม่ไหวขนาดนั้น OFFICE ใหญ่ ขนาดของงานก็เลยต้องใหญ่ตามไปด้วยซึ่งไม่ถนัด ถนัดที่จะทำแบบนี้ดีกว่า

อยากจะทราบประวัติ ของ OFFICE พี่ยงยุทธ อย่างคร่าวๆครับ

OFFICE ก่อตั้งตั้งแต่ปี’90 ตอนเริ่มก่อตั้งก็มีสมาชิก 15 คน แต่ตอนนี้เหลือแค่ 6 เราทำงานในลักษณะงานตัดจ้างเอาแต่ไม่ใช่ว่าคนน้อยจะรับงานใหญ่ไม่ได้นะ

พี่ยงยุทธคิดเห็นอย่างไรกับวงการสถาปนิกไทยในปัจจุบันครับ

คือวงการเราต้องการมืออาชีพจริงๆคือเราไม่ได้ถูกปลูกฝังในเรื่องสถาปัตยกรรมตั้งแต่วัยเรียน และ การให้ความสำคัญของสถาปัตยกรรมของเราเนี่ยน้อยมาก ลูกค้าที่เข้าใจมีไม่มาก หรือมองความสำคัญในเรื่องนี้นร้อยมาก เขามองเห็นคุณค่าของสถาปนิกแค่เหมือนกับการซื้อสินค้าชนิดหนึ่งที่มีการต่อรองได้ สถาปนิกก็ยอมที่จะทำงานโดยที่ได้ค่าแบบน้อย สถาปนิกเป็นอาชีพต้องใช้เวลาในการกทำงาน อย่างบางคนอาจจะคิดว่า ได้ค่าแบบ

พี่ยงยุทธคิดว่าวงการสถาปนิกไทยในอนาคตนั้นจะมุ่งไปในทิศทางใดบ้างครับ

คือตราบใดที่ทางสภาหรือสมาคมสถาปนิกเนี่ยไม่รู้ขคิดจริงจังกันแค่ไหน อย่างหนึ่งก็คือต้องให้ชัดเจนในเรื่องของค่าบริการวิชาชีพ ตอนนี้เราก็ยังไม่ได้ตามอัตรานั้นหรอกเราก็จะถูกต่อรอง แต่ถ้าบังคับเลยว่า ถ้าได้ค่าแบบมาแล้วเราต้องเสียภาษีตามอัตรา สมมุติค่าแบบได้ 3% ก็คิดภาษีของ 3% โดยไม่สนใจหรอกว่าเขาจะได้ค่าแบบกี่% มันก็เหมือนเป็นแรงผลักดันในการคิดค่าบริการให้ได้ตามมาตรฐาน ถ้าได้ค่าแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยสถาปนิกก็ทำงานได้เต็มที่ คือจะได้ไม่ต้องมาเถียงกันตรงนี้ ถ้าจะวัดกันนะอย่ามาวัดว่าค่าแบบใครถูก หน่วยงานราชการก็เป็นซะเองคือประกวดค่าแบบซึ่งเรื่องนี้น่าเกลียดมากจริงๆความจริงต้องประนามกันด้วยซ้ำ

แล้วในอนาคตที่ประเทศไทยจะเปิดเสรีในอาชีพสถาปนิกโดยให้ชาวต่างชาติสามารถเข้ามาประกอบอาชีพถาปนิกในประเทศไทยได้ พี่ยงยุทธมีความคิดเห็นอย่างไรครับ

ก็ได้ เราไม่เห็นต้องไปปิดกั้นเขาทำไม ทำไมเราไม่มองกลับกันว่าทำไมเราไม่พัฒนาตัวเอง อย่างนี้เขาเรียกว่าหวงก้าง แต่ทำไมรไปทำที่ประเทศอื่นเราไปทำได้ คิดในมุมกลับกัน อย่างเราไปออกแบบงานที่อื่น สมมุติไป ดูไบ คือ…..อย่ามาหวงกันดีกว่าสิ่งที่สำคัญคือเราต้องพัฒนาตัวเอง เราจะมาคิดว่าตอนนี้เราดีอยู่แล้วมันไม่ใช่ ยกตัวอย่าง สิงคโปร์ เขามาทีหลังเรา เมื่อก่อนเขายังต้องจ้างเราไปออกแบบ เดี๋ยวนี้สิงคโปร์เขาไปไกลแล้ว เขาเป็นออฟฟิซอินเตอร์ทั้งนั้นเลย เรายังอยู่เท่านี้ เพราะฉะนั้นมันคืออะไร นี่คือเรา ไม่พัฒนาตัวเอง


ปัจจุบันนี้มีการตั้งสภาสถาปนิกขึ้นมาเพื่อควบคุมการปฏิบัติวิชาชีพของสถาปนิกพี่ยงยุทธคิดเห็นอย่างไรครับ

ถ้ามันคุมได้ก็ดี แต่ว่า ทำอะไรให้สมเหตุสมผลแล้วกัน แล้วดูเรื่องอะไรสำคัญ ทำในเรื่องที่ควรทำ ปัจจุบันเห็นไอ้ตัวสถาปนิกต้องมีรายงานการทำงานเก็บคะแนนสะสมเพื่อต่ออายุ ดูแล้วมันก็……..จำเป็นรหือเปล่า

ผมเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ในประเทศไทยนั้นการขออณุญาตก่อสร้างให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้นยากกว่าการทำผิดกฎหมายพี่ยงยุทธคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้างครับ

อย่างนี้ก็พูดผิดแล้ว ทำไมล่ะ ทำให้ถูกกฎหมายมันจะมีปัญหาอะไร

คือว่าผมเคยได้ยินมาว่า การขออณุญาตให้ถูกกฎหมายนั้นมันจะใช้ระยะเวลานานกว่าครับ

ถ้าพูดแบบนี้ก็เท่ากับว่า ทรยศ ต่ออาชีพตัวเอง คือกฏหมายเขาว่ายังไง เราก็ต้องมีหน้าที่ทำตามกฎหมาย ถึงแม้ว่ากฎหมายมันอาจจะไม่ดีแต่เราก็ต้องทำตามนั้น หรือไม่ก็เราต้องแก้กฎหมายก่อนแล้วเราค่อยทำผิด คือการกระทำผิดนั้นส่งผลเสียหลายอย่าง คือส่งผลต่อเราเองด้วย และลูกค้าก็ต้องอยู่กับอาคารที่เราสร้าง ซึ่งสมัยนี้เขาให้มีการตรวจอาคารทุกๆ 5 ปีมั้ง แล้วถ้าตรงนี้ลูกค้าผิดไป แล้วใครรับผิดชอบ เราไปแนะนำลูกค้าว่าทำอย่างงี้ๆ ใช่มั้ย เสร็จแล้วตอนนั้นเราอยู่ไหน คือมันเป็นเหมือนกับการทำบาป คือถ้าทำแบบนี้ก็เห็นแก่ตัวไปหน่อย

อย่างช่วงที่ผ่านมานี้ในกรณีของอาคารที่ก่อสร้างโดยผิดกฎหมายแล้วเกิดมีปัญหาขึ้นมาอย่างเช่น ในกรณี ซานติก้า พี่ยงยุทธคิดว่ามันน่าจะเกิดมาจากอะไรครับ

มันเป็นการที่…….เป็นการร่วมมือฉ้อฉล ระหว่างเจ้าของ สถาปนิก และ ข้าราชการ ถ้าไม่เช่นนั้นมันก็เกิดขึ้นไม่ได้โดยไม่นึกถึงปัญหาที่ตามมา การต่อเติมที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ อย่างซานติก้านี่มองทางหนีไฟไม่เห็น มันก็เป็นผลมาจากความเห็นแก่ได้ของเจ้าของ เจ้าหน้าที่นี่เห็นแต่รับเงินก็เลยไม่เห็น ไอ้คนออกแบบก็ออกแบตามที่เจ้าของเขาอยากได้ เพราะฉะนั้นมันก็เลยมีปัญหาขึ้นมา

ในต่างประเทศเขามีประมวลกฎหมายการก่อสร้าง(Building Code) แต่ประเทศไทยยังไม่มีพี่ยงยุทธคิดว่าประเทศไทยควรจะมีประมวลกฎหมายการก่อสร้างเหมือนกับต่างประเทศหรือเปล่าครับ

เราก็ควรมีควรทำต้องทำเดี๋ยวนี้เลยเพราะสิ่งเหล่านี้มันเปิดช่องให้ข้าราชการคอรัปชั่น กฎหมายมันไม่ชัดเจน กฎหมายมันคลุมเครือ เกิดช่องว่างให้ทุจริตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เราก็ไม่แก้ไขเพราะกฎหมายมันไม่ทันสมัยหลายเรื่อง คือยกตัวอย่างง่ายๆ ทาวน์เฮาส์ต้องมีที่ว่างด้านหลังจรดต่อเนื่องกันเวลาเรา Design แต่สุดท้ายนะเจ้าของมาต่อเติมกันเต็มไปหมด

คืออย่างอาคารที่ก่อสร้างหรือต่อเติมผิดกฎหมายนี่ทางภาครัฐเขาไม่มีการมาตรวจสอบเลยหรือครับ

ถ้าต่อเติมแบบผิดกฎหมายนะต้องลงโทษให้หนักไม่เช่นนั้นนะ เจ้าหน้าที่เขตก็รับตังค์จากเจ้าของไปแล้วพอเปลี่ยนใหม่ก็มาไถกันใหม่ มันต้องลงโทษหนักถึงขั้นทุบอาคารเลยทุบแต่ส่วนที่ผิดก็ได้ถ้าไปโดนอาคารตรงอื่นก็รัฐก็ไม่ต้องมาใช้จ่ายให้เพราะถือว่าทำผิดไง เราปล่อยๆกันไปเรื่อย

มันเป็นกันแบบนี้จึงทำให้ประเทศไทยไม่ค่อยพัฒนาใช่มั้ยครับ

ใช่ เราไม่แข็งในเรื่องกฎหมาย ที่อื่นเขาไม่ได้เลย คือไม่ว่าเป็นงานออกแบบชนิดไหนสถาปนิกก็ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง ม่งั้นเดี๋ยวก็ทำอะไรกันเปลอะไปหมด อย่างบ้านที่อยู่อาศัยก็ต้องให้สถาปนิกออกแบบไม่ใช่ให้ใครทำก็ได้ คนอยู่อยู่ผิดหลักวิชาการ ผิดที่ผิดทางมันก็อยู่ไม่ได้

มีอะไรแนะนำรุ่นน้องที่เพิ่งจบใหม่เรื่องการหางานบ้างมั้ยครับ

จำไว้เลยนะเราไม่มีโอกาสตกงานหรอก มันเป็นข้ออ้าง เพราะเลือกงานเลยไม่มีงานทำ เลือกงานเพราะอะไร? เงินเดือนน้อย? น้อยก็น้อยสิดีกว่าไม่มี เราจบใหม่จะมีค่าใช้จ่ายอะไรครอบครัวยังไม่มีเลย อยู่บ้านก็อยู่กับพ่อกับแม่ มันอยู่ที่ความสามารถเราตรงนี้ อย่าไปคิดว่า เราต้องอยู่ OFFICE ใหญ่ เงินเดือนเท่านี้ อย่างนั้นอย่างนี้ เด็กรุ่นใหม่มันก็มีมาถามๆ ทางนี้เราก็บอกว่าไม่คุยแล้ว ไม่สู้นี่ ไม่สู้งาน


อยากพูดถึงเกี่ยวกับสิ่งที่อยากฝากให้สถาปนิกรุ่นน้องที่กำลังจะเป็นสถาปนิกในอณาคต

ก็ต้องรู้จักทำการค้นคว้า การค้นคว้าทำให้เรารู้อะไรที่เราไม่รู้ ส่วนมากนี่ปัญหาคือสถาปนิกไม่ค่อยค้นคว้า ไปออกดูในโลกกว้างด้วยว่าเขาทำยังไงเขาไปถึงไหน แล้วก็อย่าหลอกตัวเองคิดว่าตัวเองทำได้ดีที่สุดแล้ว คือศึกษางานที่เขาพัฒนาไปเพื่อก้าวไปให้ทันโลก ไม่ว่าในเรื่องแง่ต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องโครงสร้าง ในเรื่องวัสดุ แล้วอีกอย่างหนึ่งคือให้อยู่ในความเป็นจริงอย่าไปออกแบบหรือทำงานที่หวังจะ….พูดตรงๆว่าหลอกลูกค้า แล้วอาคารก็จะเป็นขยะ ขยะเมืองอ่ะ ตรงนี้ต้องใส่ใจ อย่าลืมว่าอายุอาคารน่ะเมื่อก่อนเขาตีไว้ 50 ปีเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เขาตีอายุเป็น 100 ปี เพราะฉะนั้นบางทีเราต้องคิดว่าอาคารที่อยู่ 100 ปีเราต้องให้ความสำคัญมันยังไง บางทีเราต้องคิดในแง่ที่ว่า 100 ปีถ้ามันเกิดมีวิวัฒนาการอะไรใหม่ขึ้นมาก็ต้องแก้ไขได้ อีกเรื่องก็คือว่า มันก็ยังต้องทันสมัยอยู่ ไม่ใช่เหมือนเป็นแฟชั่น 1 ปีมันก็ตกยุคไปมันก็จะกลายเป็นขยะ





ปิดฉากการสัมภาษณ์ที่ดุเดือดด้วยการถ่ายรูปคู่และบอกลากลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

ขอบคุณ พี่ยงยุทธ ที่สละเวลามาให้สัมภาษณ์
ขอบคุณพี่หวานที่ช่วยแนะนำ

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ร่างประมวลข้อบังคับอาคาร (Building Code) สำหรับประเทศไทย

ความหมายของ Building Code
หากพิจารณาความหมายของ “Building Code” จะพบว่าเป็นการรวม 2 คำเข้าด้วยกัน คำแรก คือ “Building” หรือแปลเป็นไทยได้ว่า “อาคาร” ไว้อย่างชัดเจนว่า หมายถึงตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งก่อสร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลเข้าอยู่ หรือ ใช้สอยได้ รวมถึงโครงสร้างอื่น เช่น เขื่อน สะพาน หรือ ป้าย เป็นต้น สำหรับคำหลังหรือ “Code” นั้นตามพจนานุกรมแปลได้ว่า “ประมวล หรือหนังสือที่รวบรวมสิ่งซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน ”
ดังนั้น ความหมายของ Buildind Code จึงน่าจะเทียบเคียงได้กับการรวบรวมข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์ มีเนื้อหาเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวกต่อการปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับคำนิยามของ Building Code ฉบับนานาชาติของเวบสเตอร์ที่หมายถึง ข้อบังคับของการดำเนินการและมาตรฐานของวัสดุที่สำคัญสำหรับผู้ใช้ในการก่อสร้างอาคารที่ได้ รวบรวมขึ้นเพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกัน และ สร้างความปลอดภัยผาสุกให้แก่สาธารณะป็นสัญโดยปกติหน่วยงานของรัฐเป็นผู้บัญญัติ Building Code เพื่อให้มีผลบังคับตามกฎหมาย
ซึ่งสำหรับประเทศไทยใช้คำว่า “ประมวลข้อบังคับอาคาร” ซึ่งหมายถึง ข้อบังคับด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่จัดทำและรวบรวมขึ้นอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เป็นมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับควบคุมให้การออกแบบ การก่อสร้าง และการใช้งานอาคารมีความปลอดภัย ถูกสุขอนามัย และก่อให้เกิดสวัสดิภาพแก่ผู้ใช้อาคารและสาธารณชน ซึ่งการจัดทำประมวลข้อบังคับอาคารจะเป็นการสอดรับกับระบบควบคุมอาคาร

ประมวลข้อบังคับอาคาร Building Code ฉบับแรกของโลก
ถ้าย้อนกลับไปถึงการเริ่มออกข้อบังคับอาคาร Building Code ฉบับแรกนั้น มีการบังคับใช้กันมากว่า 1,700 ปี ก่อนสมันคลิสตกาลมาแล้ว ในสมัยกษัตริย์ ฮัมมูราบี แห่งเมโสโปเตเมีย ซึ่งประกอบด้วยข้อบัญญัติและบทลงโทษ จำนวน 282 ข้อ ซึ่งมีไว้เพื่อควบคุมดุแลความสงบเรียบร้อย และภายในข้อบังคับนี้ ยังมีการบัญญัติในเรื่องของบทลงโทษในส่วนของการก่อสร้างอาคาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัย จึงอาจถือได้ว่า ข้อบังคับ ฮัมมูราบี เป็น Building Code ฉบับแรกของโลกก็ว่าได้

ความเหมือนที่แตกต่างของ Building Code และมาตรฐาน (Standard)
Building Code และมาตรฐาน (Standard) มีความใกล้ชิดกันมากจนชนิดที่ว่าแทบจะแยกไม่ออก ดังที่กล่อางมาข้างต้นว่า Building Code เป้นข้อบังคับที่ผู้เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง และใช้อาคารจะยึดถือปฎิบัติ เพื่อการออกแบบและก่อสร้างที่มีความปลอดภัย โดยหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้บัญัติขึ้นมาเพื่อให้มีผลบังคับตามกฎหมาย ส่วนมาตรฐาน(Standard) นั้นสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้ให้ความหมายไว้อย่างชัดเจนว่า “เป็นเอกสารที่ได้จัดทำขึ้นจากการเห็ยพ้องต้องกันและได้รับความเห็นชอบจากองค์กรอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เอกสารดังกล่าวจะวางระเบียบแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติวิสัยเพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยแก่สาธารณะ”

Building Code ของประเทศไทย
หากพิจารณาตามความหมายและข้อบังคับแล้ว สิ่งที่ใกล้เคีงกับ Building Code มากที่สุดในขณะนี้คือ กฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รวมถึงกฎกรทรวงหรือประกาศที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างที่ออกตามความใน พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 เป็นต้น
กรมโยธาธิการและผังเมืองซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการออกกฎข้อบังคับต่างๆในการก่อสร้างไดเล็งเห็นถึงความสำคัญของ Building Code และเห็นว่าเป็นมาตรการหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการ่อสร้างได้ จึงมีการเสนอให้จัดทำ Building Code และได้ตั้งชื่อ Building Code เบื้องต้นว่า
“ประมวลข้อบังคับอาคาร”
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการที่จะทำเนื้อหาของประมวลข้อบังคับอาคารให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนจับเป็นต้องอาศัยมาตรฐานในการก่อสร้างเป็นจำนวนมากแต่ประเทศไทยยังขาดแคลนมาตรฐานดังกล่าวอยู่ ดังนั้น กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จัดทำมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมืองขึ้น โดยได้นำมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง(เดิม) มาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับปัจจุบันและมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ ประมลข้อบังคับอาคารมีเนื้อหาสมบูรณ์

ซึ่งในปัจจุบันได้มีร่างประมวลข้อบังคับอาคาร ออกมาให้เห็นกันบางส่วนแล้ว และยังมีการทำประชาพิจารย์ในโครงการย่อยอื่นๆอยู่ ซึ่ง จะต้องใช้เวลาการทำประชาพิจาร และเสนอความเห็น กันอีกเป็นปี ดังนั้นจึงขอนำมาเผยแพร่ ในส่วนของโครงการย่อย ที่เผยแพร่สู่สาธารณะชนแล้ว มีดังต่อไปนี้

อ้างอิง
http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=1C295D1AC3D4[9H5RNJ[O8SWWG2MGP


โครงการพัฒนาปรับปรุงและจัดทำประมวลข้อบังคับอาคารของประเทศไทย (Building Code) ฉบับที่ 2 เรื่อง ด้านน้ำหนักบรรทุกที่กระทำต่ออาคาร

วัตถุประสงค์
1.1 เนื้อหาในส่วนนี้เกี่ยวข้องกับขนาดของน้ำหนักบรรทุกขั้นต่ำที่ใช้ในการคำนวณออกแบบอาคารและส่วนประกอบต่างๆ ของอาคาร ได้แก่ การรวมน้ำหนักบรรทุก น้ำหนักบรรทุกคงที่ น้ำหนักบรรทุกจรแรงกระแทก การปรับลดค่าน้ำหนักบรรทุกจร แรงเนื่องจากสภาพแวดล้อมอันได้แก่แรงแผ่นดินไหวและแรงดันดินด้านข้าง และแรงประเภทอื่นๆ ที่กระทำต่ออาคาร
1.2 เมื่ออาคารและส่วนประกอบต่างๆ ของอาคารต้องรับแรงประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากที่แสดงไว้ในส่วนนี้ ผู้คำนวณออกแบบต้องเป็นผู้รับผิดชอบจัดหาข้อมูล หรือกำหนดวิธีการคำนวณแรงดังกล่าวโดยข้อมูล รวมทั้งวิธีการที่ใช้ ต้องมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
1.3 อาคารและส่วนประกอบต่างๆ ของอาคารย่อมต้องมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักบรรทุกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีส่วนใดของอาคารได้รับความเสียหาย หรือเกินกำลังตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับด้านวิศวกรรม

รายละเอียด

การรวมน้ำหนักบรรทุก บอกถึงวิธีการรวมน้ำหนักบรรทุกซึ่งมีอยู่ 2วิธีคือ
-วิธีคูณความต้านทานและน้ำหนัก
-วิธีหน่วยแรงใช้งาน
น้ำหนักบรรทุกคงที่ บอกถึงวิธีการคำนวณน้ำหนักบรรทุกคงที่
น้ำหนักบรรทุกจร บอกถึงวิธีการคำนวณและการกำหนดน้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ
แรงลม บอกถึงวิธีการคำนวณแรงลมที่มีผลต่ออาคาร
แรงแผ่นดินไหว บอกวิธีการคำนวณแรงแผ่นดินไหวและแนวทางการออกแบบ
- ความแข็งแรงและความเหนียวของอาคาร
-แผ่นดินไหวสำหรับการออกแบบอาคาร
- วิธีการออกแบบ
แรงดันดินด้านข้าง อธิบายการคำนวณแรงดันด้านข้าง
แรงจากของเหลว บอกถึงวิธีการคำนวณแรงดันจากของเหลว
แรงจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ บอกถึงวิธีการคำนวณแรงจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

อ้างอิง
http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=1C295D0295BNP7RV9IDPFV8[3R82W3

โครงการพัฒนาปรับปรุงและจัดทำประมวลข้อบังคับอาคารของประเทศไทย(BuildingCode) ฉบับที่ 4 เรื่อง ข้อบังคับคุณสมบัติด้านอัคคีภัยของวัสดุ และผลิตภัณฑ์

วัตถุประสงค์
ประมวลข้อบังคับอาคารนี้จัดทำเพื่อให้ข้อบังคับและมาตรฐานที่เกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติด้านอัคคีภัยของวัสดุและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้านการออกแบบ ติดตั้ง การทดสอบ สามารถเลือกใช้วัสดุในงานก่อสร้างและการใช้อาคารทุกประเภทและทุกพื้นที่ในประเทศให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

รายละเอียด

หมวดที่ 1 ข้อกำหนดคุณสมบัติด้านอัคคีภัยของวัสดุและผลิตภัณฑ์ด้านการลุกไหม้ การทนไฟการลามไฟ
- การควบคุมการใช้งานวัสดุภายในอาคาร
- การออกแบบติดตั้งชิ้นส่วนโครงสร้างและส่วนประกอบอาคารทนไฟ
- การออกแบบติดตั้งวัสดุและอุปกรณ์ป้องกันการลามไฟ

หมวดที่ 2
ข้อกำหนดคุณสมบัติด้านอัคคีภัยของวัสดุและผลิตภัณฑ์ ด้านระบบประกอบอาคาร
- การออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ระบบประกอบอาคาร – เส้นทางหนีไฟ
- การออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ระบบดับเพลิง
- การออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
- การออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ระบบควบคุมควัน

อ้างอิง
http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=1C295D02C52RPYYH2GZO1QPR91NW3X"

โครงการพัฒนาปรับปรุงและจัดทำประมวลข้อบังคับอาคารของประเทศไทย(BuildingCode) ฉบับที่ 5 เรื่อง ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ

วัตถุประสงค์
ประมวลข้อบังคับฉบับนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นมาตรฐานในการออกแบบและการก่อสร้างส่วนต่างๆของอาคาร

รายละเอียด
ร่างประมวลข้อบังคับฉบับนี้จะแบ่งออกเป็นฉบับย่อยๆได้ดังนี้
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (แบบหล่องานคอนกรีต - Formwork for Concrete)
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (มาตรฐานเสาเข็มเจาะ)
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (มาตรฐานลิฟต์ชั่วคราวในงานก่อสร้าง)
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ประกอบของอาคาร)
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (มาตรฐานงานรื้อถอนทางวิศวกรรม)
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (มาตรฐานความปลอดภัยขณะก่อสร้าง)
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (มาตรฐานการป้องกันอาคารข้างเคียงจากการตอกเสาเข็ม)
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (มาตรฐานการประเมินกำลังสำหรับอาคารคอนกรีตเสริม
เหล็ก)

อ้างอิง
http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=1C295D03B757IXIOYEJU29LKSN[GSX

โครงการ พัฒนาปรับปรุงและจัดทำประมวลข้อบังคับอาคารของประเทศไทย (Building Code) ฉบับที่ 6 เรื่อง ข้อบังคับในการก่อสร้างอาคารที่มีลักษณะ พิเศษและบ้านพักอาศัย

วัตถุประสงค์


เนื่องจากอาคารบ้านพักอาศัย เป็นอาคารทั่วไป ที่ประชาชนสามารถใช้ความรู้ความสามารถและทักษะทางช่างในการก่อสร้างได้ โดยที่อาคารไม่เข้าข่ายวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินความมั่นคงแข็งแรง สุขอนามัยและ
สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยจากอัคคีภัย จึงต้องมีการกำหนดมาตรฐานองค์ประกอบอาคาร
การก่อสร้างและวัสดุอาคาร เพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายควบคุมอาคาร
โดยมาตรฐานขั้นต่ำที่คุ้มค่า ประหยัด ไม่เป็นภาระแก่เจ้าของอาคารเกินความจำเป็นในลักษณะ
ที่ใช้บังคับกับอาคารขนาดใหญ่

รายละเอียด
ร่างประมวลข้อบังคับฉบับนี้จะแบ่งออกเป็น2ฉบับได้ดังนี้

ร่างประมวลข้อบังคับเกี่ยวกับบ้านพักอาศัย
1.ข้อกำหนด การอนุญาตอาคารบ้านพักอาศัย
2.ข้อกำหนดการขออนุญาติอาคารบ้านพักอาศัย
3.ข้อกำหนดแผนการก่อสร้างอาคาร
4.ข้อกำหนดเกี่ยวกับงานและวัสดุโครงสร้าง
5.ข้อกำหนดองคประกอบอาคารบ้านพักอาศัย
6.ข้อกำหนดระบบท่อและสุขาภิบาล
7.ข้อกำหนดระบบเครื่องกล (ปรับอากาศ)
8. ข้อกำหนดระบบไฟฟ้า

ร่างประมวลข้อบังคับเกี่ยวกับอาคารลักษณะพิเศษ
1.โครงสร้างแผ่นบาง
2.โครงสร้างที่ใช้เคเบิล
3.การก่อสร้างหอหรือโครงถักสูง
4.โครงสร้างชั่วคราว
5.โครงสร้างชายฝั่งทะเล
6.โครงสร้างคอนกรีตอัดแรง
7.ป้าย
8.โรงมหรสพ
9.ทางเดินเชื่อมระหว่างอาคาร
10.สระว่ายน้ำ
11.การก่อสร้างอาคารลักษณะพิเศษที่ไม่ได้ระบุไว้ในประมวลข้อบังคับอาคาร

อ้างอิง
http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=1C295D14E596S3YWQ3AUZRCRI7N53O

โครงการ พัฒนาปรับปรุงและจัดทำประมวลข้อบังคับอาคารของประเทศไทย (Building Code) ฉบับที่ 7 เรื่อง ข้อบังคับเกี่ยวกับการออกแบบตามสมรรถนะ

วัตถุประสงค์

ประมวลข้อบังคับการออกแบบอาคารของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นข้อบังคับลักษณะการดำเนินการ (Prescriptive) ซึ่งได้กำหนดวิธีการดำเนินการในแต่ละปัญหา และรายละเอียด เพื่อความสะดวกในการออกแบบ ตรวจสอบ และกำกับดูแล อย่างไรก็ดีประมวลข้อบังคับดังกล่าวไม่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และวัสดุสำหรับการก่อสร้างอาคาร หรือกาคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ในปัจจุบันมีประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาออสเตรเลียแคนาดา อังกฤษ และนิวซีแลนด์ได้ปรับเปลี่ยนข้อกำหนดจากเดิมในลักษณะการดำเนินการ มาเป็นข้อกำหนดตามสมรรถนะ ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่เน้นผลลัพธ์ปลายทาง เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของผู้ใช้อาคาร หรือผู้อยู่อาศัย โดยเน้นความปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สิน ความสะดวกสบาย มีสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ดีและประหยัดพลังงาน ซึ่งมีแนวโน้มว่าประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาหลายประเทศกำลังปรับเปลี่ยนข้อบังคับการออกแบบอาคารมาเป็นลักษณะการออกแบบตามสมรรถนะ

รายละเอียด

ประมวลข้อบังคับอาคารตามสมรรถนะในต่างประเทศ
- ประเทศอังกฤษ
- ประเทศออสเตรเลีย
- ประเทศแคนาดา
องค์ประกอบของประมวลข้อบังคับการออกแบบอาคารตามสมรรถนะ
- โครงสร้างของประมวลข้อบังคับอาคารตามสมรรถนะ
- การตรวจประเมินสมรรถนะของวัสดุและผลิตภัณฑ์
ทิศทางของประมวลข้อบังคับการออกแบบในประเทศไทย
- รูปแบบข้อบังคับ
- เกณฑ์การจัดการทั่วไป
- การเปรียบเทียบประมวลข้อบังคับอาคารปัจจุบันและประมวลข้อบังคับอาคารตาม
สมรรถนะ
- ผลของการเปลี่ยนเป็นประมวลข้อบังคับอาคารตามสมรรถนะและมาตรการรองรับ

อ้างอิง
http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=1C295D152FXI1RGIKWHTN9ZK9AVCCN

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทริป “เก้าวันสี่พันรูป”วันที่๙


วันที่๙(1/08/2553)
            ตื่นมาด้วยหน้าตาสดชื่นเพราะวันนี้จะได้กลับบ้านแล้วหลังค่อนข้างเหนื่อยกับการเดินทางในทริปนี้วันนี้เราจะแวะที่ พิษณุโลก ก่อนจะกลับกรุงเทพ ขึ้นรถไปก็หลับเหมือนเดิมวันนี้ได้หลับยาวหน่อยเพราะเดินทางนานจนถึงจุดแรกที่เราแวะก็ลงไปถ่ายรูป

วัดราชบูรณะ
                เป็นวัดที่วิหารยังคงการวางผังของเจดีย์แบบดั้งเดิมซึ่งอยู่ด้านหลังของตัววิหาร เมื่อมาถึงที่พิษณุโลกการก่ออิฐโชว์แนวเราก็ไม่ได้เห็นอีกแล้วกลายเป็นวัดที่ฉาบปูนเรียบ แต่โครงสร้างของวิหารจะเป็นเสาคานและถ่ายน้ำหนักปลายชายคามีผนังรับน้ำหนักโดยรอบทำให้รูปทรงของหลังคาป้านออกไปเพื่อถ่ายแรงถีบจากด้านบนซึ่งสถาปัตยกรรมแต่ดั้งเดิมนั้นได้รับอืธิพลมาจากสุทัย โดยเจดีย์ของวัดราชบูรณะนั้นก็จะยังเป็นแบบเรียงอิฐโชว์แนวอยู่ วัดนี้ได้มีการปรับปรุงในสมัย รัชกาลที่๔ อีกด้วยจึงได้มีส่วนเก็บของเก่าสมัยรัชกาลที่๔อยู่ในวิหารด้วย



วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก
                ซึ่งเป็นวัดที่มีพระพุทธชินราชประดิษฐานอยู่เป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย แต่ว่าด้วยกาลเวลาที่ล่วงเลยมานานก้ได้บูรณะจนเหลือไว้แค่รูปทรงของตัวอาคาร หลังคา และการวางผัง เท่านั้นที่แสดงออกว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย ที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชจะมีพระปรางค์หลวงตั้งอยู่ด้านหลัง อยู่ระหว่างวิหารอีกสองด้านโดยมีวิหารคดเชื่อมต่อจากวิหารหลวงล้อมรอบพื้นที่เอาไว้ อ.ไก่ (สน.) เล่าว่าที่จริงแล้ววิหารคตที่ล้อมรอบสร้างพื้นที่ปิดล้อมนั้นถ้าไม่ได้มองจากมุมสูงจะรู้สึกเหมือนเป็นจตุรัส แต่ จริงๆแล้วมันเป็นสี่เหลี่มผืนผ้า เป็นแยบยลของการวางผังของคนสมัยโบราณ ตามระเบียงคตก็จะมีพระพุทธรูปเรียงรายอยู่เต็มไปหมดโดยหันหน้าออกไปยังทางเดินแตกต่างกันออกไป
            โดยรวมๆแล้ววัดนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยที่ยังมีชีวิตจับต้องและมองเห็นได้ไม่ต้องเดาจากซากประหรักหักพังเหมือนการเฉลยข้อสงสัยและข้อสันนิษฐานทั้งหมดที่ได้พบเห็นมาจาก ๘ วันที่แล้ว คณะทัวร์พักกินข้าวเย็นที่นี่ และ ก็เดินทางกลับกรุงเทพ โดยไม่แวะถ่ายรูปที่ไหนๆอีกแล้วเป็นการปิดฉากทริปที่ทรหดดุเด็ดเผ็ดมัน หลากรสชาติ ได้อย่างน่าอัศจรรย์




การเดินทางก็สิ้นสุดเพียงที่นี้                  สิ่งดีดีที่ได้รับนั้นมากโข


ไปดูวัดไปดูพระซะใหญ่โต                    ร้องโอ้โหตะลึงความงดงาม




สถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่น                      ปั้นจากดินสร้างจากหินทำจากไม้


บ้างแตกหักยับแยกพังทลาย                   แฝงความหมายความงดงามตามเวลา





ออกศึกษาหาความกระจ่างชัด                ตามบัญญัติวิถีไทยแต่นานหนา


ดูให้รู้ความฉลาดแต่นานมา                    ของชนชาวล้านนาสุโขทัย





พอขึ้นรถนิ่งเป็นหลับขยับแดก              พอให้แยกย้ายกันเราก็หลง


ตื่นขึ้นมาก็ทำหน้าตามึนงง                     อ้าวๆ ลง ไปถ่ายรูปอย่าอู้กัน




                                                      แม้อ่อนล้าอ่อนเพลียจากการทัวร์            หัวเราะรั่วฮาเฮกับเพื่อนผอง


                                                     เที่ยวบวกเรียนแล่นไปตามครรลอง      “น้ำมนต์ร้อง จับจู๋สนุกจริง 


 เรื่อง/ภาพ นาย ทรงพล พัฒนพูนทอง 49020137












ทริป “เก้าวันสี่พันรูป”วันที่๘

วันที่๘(31/07/2553)


                วันนนี้ตื่นมาแบบง่วงๆงงๆอีกแล้วเพราะเมื่อวานไปเล่นเกมจนดึกกลับมาก็ตี ๒ มีข่าวแว่วๆมาว่าวันนี้ต้องซื้อมื้อเที่ยงไปกินอีกแล้ว เมื่อทำธุระส่วนตัวเสร็จก็ลงไปกินมื้อเช้าและซื้อมื้อเที่ยง ขึ้นรถก็หลับ จุดหมายปลายทางแรกของเราวันนี้ก็คือที่บ้าน อ.ตี๋

บ้าน .ตี๋
                เป็นบ้านไม้แบบเก่าที่ไม่เก่าบรรยากาศภายในบ้านัดได้หน้าอยู่และเย็นสบายมากทั้งๆที่ข้างนอกร้อนมากๆ หลังจะเป็นสวนที่มีการจัด Landscape ให้สนามหญ้าอยู่ตรงกลาง และทางเดินอยู่รอบๆเป็นการสร้างพื้นที่ปิดล้อมโดยใช้ circulation หลังจากนั่งเล่นบ้าน .ตี๋ ซักพักก็ออกไปถ่ายรูปในชุมชน ซึ่ง ในสมัยก่อนชุมชนแถบนี้เป็นชุมชนของคนจีนจึงร้านค้ามากมาย ซึ่งตลอดสองข้างทางของถนนส่วนใหญ่จะเป็นตึกแถวไม้เรียงรายกันเต็มทั้ง ๒ ฝั่ง แสดงถึงวิถีชีวิตในแบบชุมชนโบราณให้บรรยากาศของชุมชนที่เก่าแก่เมื่อเดินไปจนสุดเลี้ยวไปทางขวาข้ามสะพานไปก็จะพบกับชุมชนอีกชุมชนหนึ่งที่อยู่ริมน้ำชื่อว่า ชมชุนเกาะกง ลักษณะของบ้านจแตกต่างที่เดินผ่านมาในตอนแรก บเนจะยกใต้ถุนสูงมากๆเพื่อหนีน้ำขึ้นน้ำลง มีสะพานไม้เชื่อมต่ทั้ง ๒ ฝั่ง บ้านส่นใหญ่จะมี terace นั่งเล่นอยู่บริเวณด้านหน้าซึ่งเปิดโล่งและใช้รับแขกได้ด้วยให้บรรยากาศแบบชาวบ้านๆซึ่งดูอบอุ่นและนิ่มนวลไม่เหมือนกับคอนกรีตที่ดูแข็งๆเป็นบรรยากาศที่หาได้ยากจริงๆ เมื่อเดินถ่ายกันจนเหื่อยแล้วก็เดินกลับมาที่บ้าน อ.ตี๋เพื่อมากินมื้อเที่ยงซึ่ง กินฟรีเพราะว่าทางบ้าน .ตี๋ เลี้ยงจึงทำให้กับข้าวมื้อเที่ยงที่ซื้อมาไม่มีความหมายและจะซื้อมาทำไมก็ไม่ทราบ ข่าวลือนี่เชื่อไม่ค่อยได้จริงๆ


สนามบินสุโขทัย
                พอมาถึงก็ตกใจมากไม่น่าเชื่อว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจะเอามาทำสนามบินได้ ซึ่งเป้นสนามบินไม่กี่แห่งในโลกที่ไม่มีการปรับอากาศในตัวอาคารผู้โดยสาร โดยเจ้าหน้าที่ที่สนามบินบอกว่าจะมีน้ำหยดลงมาจากหลังคาเพื่อลดความร้อนด้วย ตัวอาคารสนามบินใช้ระเบียบมาจากสถาปัตยกรรมสุโขทัยไม่ว่าจะเป็นช่องเปิดแนวตั้ง texture การเรียงอิฐ แสดงถึงเอกลักษณ์ความเห็นสุโขทัย และมีการจัด Landscape เป็นลายผ้าถ้ามองลงมาจากเครื องบินถึงจะเห็น เป็นการจัด Landscape ที่ไม่ค่อยสัมพันธ์กับผู้ใช้อาคารเท่าไหร่ รอบๆบริเวณสนามบินก็จะมีสระน้ำอยู่เป็นระยะๆเพื่อที่พัดความชื้นเข้าสู่ตัวอาคาร

โรงแรมสนามบินสุโขทัย
                เป็นโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่ที่นำสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเข้ามาสอดแทรกได้อย่างลงตัว อย่างการเจาะช่องเปิดแนวตั้ง Texture การเรียงอิฐ และ รูปปั้นช้างที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัดช้างล้อม เมื่อเข้าไปจะเป็นโถงต้อนรับนักท่องเที่ยวและเมื่อออกไปก็จะพบกับสระน้ำขนาดใหญ่การวางผังก็คือจะให้สระน้ำอยู่ตรงกลางและฟังชั่นอื่นๆก็จะอยู่รอบๆสระน้ำ ซึ่งสระน้ำนี้จะเชื่อมแมสนำสายตาไปสู่สระว่ายน้ำด้านข้างได้ด้วย การวางผังจัด circulation โดยไม่ให้เข้าทางด้านหน้าโดยตรงแต่จะให้เดินอ้อมเข้าทางด้านข้างทำให้มีลีลาในการเข้าถึงเหมือนที่วัดนางพญา ตัวอาคารทั้งหมดและการตกแต่งก็จะเป็นสไตล์พื้นถิ่นบวกกัยวัสดุสมัยใหม่ ให้ความรู้สึกแบบ Modern พื้นถิ่น หลังจากนั้นทางคณะทัวร์ก็ออกจากโรงแรม ไปถ่ายรูปบ้านตามหมู่บ้านและกลับที่พักซึ่งพรุ่งนี้เราก็จะ check out กลับกรุงเทพแล้ว

ทริป “เก้าวันสี่พันรูป”วันที่๗

วันที่๗(30/07/2553)

วันที่๗
วันนี้ตื่นมาด้วยความง่วงมากนั่งเล่นเกมส์กับเพื่อนถึงตี ๔ ตื่นมาเข้าห้องน้ำไปหาอะไรกินแล้วก็ซื้อมื้อเที่ยงอีกเล่นเคยซึ่งวันนี้เป้าหมายของคณะทัวร์คือ ไป อุทยานประวัติศาสตร์ที่ อ.ศรีสัชนาลัย ขึ้นรถตีตั๋วนอนพร้อมลุย!

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร
ทางเข้าวัดต้องเดินข้ามสะพานแขวนเข้าไปที่ให้หวาดเสียวปนสนุกในขณะเดินทางไปวัด เจดีย์เป็นเจดีย์แบบพระปรางค์วัดศรีสวายซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากขอม และ มีบันไดเดินขึ้นไป

กำแพงทางเดินโดยรอบจะเอาศิลาแลงมาวางทั้งท่อนคล้ายๆกับเสา มีการเจาะช่งหน้าต่างเป็นช่องตั้ง มีเสาเล็กๆวางอยู่ตามขอบกำแพงด้านสันนิษฐานว่าเป็นเสาประทีป ใช้จุดประทีปตอนกลางคืน หัวเสาจะเป็นลายปั้นปูนที่งดงาม มีการวางแกนอาคารแบบสมมาตร ตัววิหารหน้าพระปรางมีการเล่นเส้นตั้งของเสาล้อกับตัวพระปรางค์ด้านหลังแล้วเอาPlane พระพุทธรูปมาเบรกตัวพระปรางค์ไว้ทำให้บังทางบันไดทางขึ้นให้และทำให้ตัวพระปรางค์ด้านหลังดูไม่สูงจนเกินไป มีการเล่นเส้นสายของกำแพงศิลาแลงให้นำสายตาพุ่งเข้าไปยังพระพุทธรูป และยังมีการเจาะช่องเปิดเป็นเส้นตั้งตัดกับเส้นนอนของศิลาแลงและการเรียงอิฐ ช่วยเบรกให้ Mass ดูมีความหลากหลายมากขึ้น


วัดโคกสิงคาราม
ภายในวัดจะประกอบด้วยเจดีย์ทรงระฆัง ๓ องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ด้านหน้าเจดีย์เป็นวิหาร ถัดจากวิหารออกมาเป็นโบสถ์ ภายในโบสถ์มีเจดีย์ทรงระฆังด้านหน้ารทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป รอบๆ เจดีย์ประธานล้อมรอบด้วยเจดีย์ก่อด้วยศิลาแลง ๔ องค์
จากรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ปรากฏพบว่าที่เจดีย์องค์ประธานด้านหลังนั้นเป็นการก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยต่อมา เดิมทีมีเพียง๒องค์ส่วนตัวโบสถ์มีเจดีย์ทรงระฆังในอาคารนั้นพบเพียงแห่งเดียวในเมืองศรีสัชนาลัยโดยทั่วไปแล้วเจดีย์จะอยู่ภายนอกอาคาร



วัดกุฎีราย
วัดกุฎีรายประกอบด้วยมณฑป ๒ หลังใหญ่ตั้งอยู่ติดริมถนนเป็นอาคารก่อด้วยศิลาแลงทั้งหลัง ตั้งแต่ส่วนฐานรากถึงหลังคา ซึ่งใช้ศิลาแลงก่อเหลื่อมเข้าหากันป็นทรงจั่วเหลี่ยมเลียนหลังคาเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้อง ภายในเป็นซุ้มอาคารฐานศิลาแลง ๕ ห้องมีมุขหน้ายื่นออกมาซึ่งดูแล้วไม่เหมือนกับวัดอื่นๆที่ผ่านๆมา



ศูนย์ศึกษาอนุรักษ์สังคโลก
เมื่อดูจากภายนอกแล้วจะเห็นได้ว่มีการใช้วัสดุที่เป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัยก็คือ อิฐ โชว์แนวไม่ฉาบปูนเมื่อเข้าไปก็จะพบกับส่วนจัดแสดงวัตถุโบราณ และเมื่อเดินผ่านห้องนี้ไปก็จะไปสู่ห้องที่แสดงเตาสังคโลกสมัยโบราณซึ่งอยู่ใต้ดินในห้องมีการใช้โครงสร้างพาดช่อวงกว้างโดยใช้การถ่ายน้ำหนักของ truss และ การเดินชมภายในห้องนี้ก็จะมีการดึงระเบียงมาใช้ร่วมกับ Landscape ให้สัมพันธ์กับ Space ภายใน คือมีการเดินเข้าๆ ออกๆ ของตัวอาคาร เพื่อดึง Space ภายนอกมาใช้อยู่เรื่อยๆ และที่นี่ก็ยังมีช่องเปิดแบบซี่เล็กๆให้เห็นอยู่โดยรวมแล้วจะเป็นอาคารสมัยใหม่ที่ดึงเอกลักษณ์ของอาคารเก่าสุโขทัยไทยมาใช้



วัดเจดีย์เก้ายอด , วัดเจดีย์เอน , วัดเขาใหญ่ 2
เป็นวัดสร้างอยู่บนสันเขาวัสดุที่ใช้เป็นศิลาแลงและการก่ออิฐ เป็นวัดที่มีการแก้ปัญหาการสร้างอาคารอยู่บนคอนทัวร์ Step ที่งดงามมีการปรับระดับที่ไม่ทำลายเนินที่มีอยู่ สอดแทรกตัวสถาปัตยกรรมเข้ากับเนินได้อย่างแนบสนิทที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือการวางเสาของวิหารที่วัดเจดีย์เก้ายอดมีก็เล่นระดับไปตามคอนทัวร์ดูแล้วสวยงามน่าสนใจ


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
คณะทัวร์ได้มาถึงที่อุทยานในเวลาบ่ายแก่ๆทางเข้าของอุทยานต้องข้ามคลองไปทางด้านข้าง ที่มีการขุดคลอดก็เพราะว่าสมัยก่อนใช้เป็นการป้องกันศัตรู และที่เข้าด้านข้างเพราะ ทำให้ศัตรูเข้าถึงได้ยาก ซึ่งจะทำเป็นกำแพง ๓ ชั้นล้อมรอบเมืองศรีสัชนาลัย คือจะมี น้ำสลับกับกำแพง เรียกว่าตรีบูน

วัดนางพญา
เป็นวัดที่ทำด้วยศิลาแลงสร้างสมัยอโยธยาซึ่งมีวิหารอยู่ข้างหน้าและเจดีย์อยู่ด้านหลัง ตัว มีการฉาบปูนที่ผนังและเปิดช่องเปิดตามตั้งในแบบสุโขทัยแต่ว่าที่วัดนนี้นั้นจะมีการประดับลายที่ผนังด้วย ซึ่งจะเป็นลายที่ม้วนๆ มนๆ เรียกว่า ลาย พฤกษา ซึ่งเป็นวิธีตกแต่งผนัง มีการทำเสานางเลียงเพื่อรับตัวกันสาดนอกอาคาร การสัญจรภายในนั้นจะไปเข้าตรงๆแต่จะเดินหลบๆอ้อมๆซึ่งเป็นการเข้าถึงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งหลายๆวัดก็ทำแบบนี้ ผ่านตัววิหารไปก็จะพบกับเจดีย์ทีร่เยอะๆมากอัดแน่นกันเต็มพื้นที่ โดยมีพระปรางค์เป็นประธานอยู่ตรงกลาง




วัดช้างล้อม
เป็นวัดที่มีวิหารโถงอยู่ด้านหน้าซึ่งมีความสูงมากและมาการยกพื้นสูงล้อกับตัวเจดย์ที่ยกสูงที่อยู่ด้านหลัง บริเวณรอบๆเจดีย์ก็จะมีรูปปั้นช้างยืนอยู่รอบๆเต็มไปหมด เมื่อขึ้นไปถึงบานเจดีย์แล้วจะมี corridor รอบๆเจดีย์ทำให้เดินได้รอบเป็นการกั้น Space ใน Space อีกทีหนึ่ง หลังจากนั้นทางคณะทัวร์ก็พากันขึ้นเขากันไป แต่ผมเกิดสะดุดบันไดล้ม ขาเจ็บจึงไม่ได้ขึ้น

ทริป “เก้าวันสี่พันรูป”วันที่๖

วันที่๖(29/07/2553)

ตื่นขึ้นมาด้วยความปวดขา เพราะเมื่อวานไปนวดแผนไทยมา ไม่รู่ว่าเกี่ยวกันรึเปล่า พอทำธุระส่วนตัวเสร็จก็ลงไปหาอะไรกินแล้วซื้อมื้อเที่ยงติดมาอีกเช่นเคยขึ้นรถก็ตีตั๋วนอนอีกแล้วหลับจนถึงจุดแรกที่ต้องแวะของวันนี้ที่ จ.อุตรดิตถ์

บ้านไผ่เขียว ต.ไผ่เขียว

ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านไม้มุงด้วยหลังคาสังกะสี ที่น่าสนใจก็คือการใช้ระนาบของฝาผนัง มากั้น Space ต่างๆทำให้เกิดพื้นที่ปิดล้อมที่ทึบบ้างโปร่งบ้าง คล้ายๆกับหมู่บ้านที่สุโขทัยแต่ว่าที่ อุตรดิตถ์ จะมีการเล่น façade ของซี่ไม้ให้ความสวยงามไปอีกแบบ



วัดดอนสัก
                คณะทัวร์ได้พักกินมื้อเที่ยงที่นี่และได้ถือโอกาสทำบุญถวายหลอดไฟพรรษาเนื่องในวันเข้าพรรษาที่วัดนี้เลย หลังจากกินมือ้เที่ยงและทำบุญเสร็จแล้วคณะทัวร์ก็ออกไปถ่ายรูปกัน
                วัดดอนสักมีวิหารที่มีหน้าจั่วและบานประตูไม้แกะสลักที่สวยงามตั้งแต่สมัยอยุธยาซึ่งประตูบานหน้าและบานหลังจะไม่เหมือนกัน ประตูด้านหน้าเป็นประตูบานใหญ่เปิดเพื่อรับแสงเข้าไปในโบสถ์เพื่อให้โบสถ์ไมมืดทึบจนเกินไป ถ้าไม่มีลวดลายที่ประตูและหน้าจั่วจะทำให้ตัวโบสถ์ดูจืดชืด แสดงให้เห็นถึงความคิดของ่างโบราณที่ออกแบบลวดลายมาให้เข้ากับโครงสร้างและสัดส่วนอาคารได้อย่างลงตัว

หมู่บ้าน .ลับแล
                โดยทั่วไปแล้วจะเหมือนหมู่บ้านที่ บ้านไผ่เขียว ต.ไผ่เขียว ที่ได้ไปดูมาเมื่อเช้า ซึ่งจะเป็นบ้านไม้มุงด้วยหลังคาสังกะสี ที่น่าสนใจก็คือการใช้ระนาบของฝาผนัง มากั้น Space ต่างๆทำให้เกิดพื้นที่ปิดล้อมที่ทึบบ้างโปร่งบ้าง มีการเล่นเส้นสายของวัสดุได้อย่าหน้าสนใจ และมีการปลูดพืชให้สอดแทรกกับตัวลานบ้านได้อย่างร่มรื่น

วัดท้องลับแล
            เดินไปถึงหน้าวัดฝนก็ตกมาอย่างหนักจึงต้องหาที่หลบกัน เลยเข้าไปหลบในศาลาหน้าวัด ไม่ได้เขจ้าไปถ่ายในวัดเลย แต่ที่วัดนี้มีศาลาลอยน้ำอยู่ที่บริเวณหน้าวัดลักษณะสถาปัตยกรรมจะคล้ายๆกับเรือนไทยสมัยสุโขทัย และมีการประดับตกแต่งที่ตะเข้สันและชายคาอย่างสวยงาม เมื่อฝนหยุดแล้วก็เดินถ่ายบ้านแถวๆนั้นอีก - หลังแล้วก็กลัที่พักที่สุโขทัย