วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทริป “เก้าวันสี่พันรูป”วันที่๙


วันที่๙(1/08/2553)
            ตื่นมาด้วยหน้าตาสดชื่นเพราะวันนี้จะได้กลับบ้านแล้วหลังค่อนข้างเหนื่อยกับการเดินทางในทริปนี้วันนี้เราจะแวะที่ พิษณุโลก ก่อนจะกลับกรุงเทพ ขึ้นรถไปก็หลับเหมือนเดิมวันนี้ได้หลับยาวหน่อยเพราะเดินทางนานจนถึงจุดแรกที่เราแวะก็ลงไปถ่ายรูป

วัดราชบูรณะ
                เป็นวัดที่วิหารยังคงการวางผังของเจดีย์แบบดั้งเดิมซึ่งอยู่ด้านหลังของตัววิหาร เมื่อมาถึงที่พิษณุโลกการก่ออิฐโชว์แนวเราก็ไม่ได้เห็นอีกแล้วกลายเป็นวัดที่ฉาบปูนเรียบ แต่โครงสร้างของวิหารจะเป็นเสาคานและถ่ายน้ำหนักปลายชายคามีผนังรับน้ำหนักโดยรอบทำให้รูปทรงของหลังคาป้านออกไปเพื่อถ่ายแรงถีบจากด้านบนซึ่งสถาปัตยกรรมแต่ดั้งเดิมนั้นได้รับอืธิพลมาจากสุทัย โดยเจดีย์ของวัดราชบูรณะนั้นก็จะยังเป็นแบบเรียงอิฐโชว์แนวอยู่ วัดนี้ได้มีการปรับปรุงในสมัย รัชกาลที่๔ อีกด้วยจึงได้มีส่วนเก็บของเก่าสมัยรัชกาลที่๔อยู่ในวิหารด้วย



วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก
                ซึ่งเป็นวัดที่มีพระพุทธชินราชประดิษฐานอยู่เป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย แต่ว่าด้วยกาลเวลาที่ล่วงเลยมานานก้ได้บูรณะจนเหลือไว้แค่รูปทรงของตัวอาคาร หลังคา และการวางผัง เท่านั้นที่แสดงออกว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย ที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชจะมีพระปรางค์หลวงตั้งอยู่ด้านหลัง อยู่ระหว่างวิหารอีกสองด้านโดยมีวิหารคดเชื่อมต่อจากวิหารหลวงล้อมรอบพื้นที่เอาไว้ อ.ไก่ (สน.) เล่าว่าที่จริงแล้ววิหารคตที่ล้อมรอบสร้างพื้นที่ปิดล้อมนั้นถ้าไม่ได้มองจากมุมสูงจะรู้สึกเหมือนเป็นจตุรัส แต่ จริงๆแล้วมันเป็นสี่เหลี่มผืนผ้า เป็นแยบยลของการวางผังของคนสมัยโบราณ ตามระเบียงคตก็จะมีพระพุทธรูปเรียงรายอยู่เต็มไปหมดโดยหันหน้าออกไปยังทางเดินแตกต่างกันออกไป
            โดยรวมๆแล้ววัดนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยที่ยังมีชีวิตจับต้องและมองเห็นได้ไม่ต้องเดาจากซากประหรักหักพังเหมือนการเฉลยข้อสงสัยและข้อสันนิษฐานทั้งหมดที่ได้พบเห็นมาจาก ๘ วันที่แล้ว คณะทัวร์พักกินข้าวเย็นที่นี่ และ ก็เดินทางกลับกรุงเทพ โดยไม่แวะถ่ายรูปที่ไหนๆอีกแล้วเป็นการปิดฉากทริปที่ทรหดดุเด็ดเผ็ดมัน หลากรสชาติ ได้อย่างน่าอัศจรรย์




การเดินทางก็สิ้นสุดเพียงที่นี้                  สิ่งดีดีที่ได้รับนั้นมากโข


ไปดูวัดไปดูพระซะใหญ่โต                    ร้องโอ้โหตะลึงความงดงาม




สถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่น                      ปั้นจากดินสร้างจากหินทำจากไม้


บ้างแตกหักยับแยกพังทลาย                   แฝงความหมายความงดงามตามเวลา





ออกศึกษาหาความกระจ่างชัด                ตามบัญญัติวิถีไทยแต่นานหนา


ดูให้รู้ความฉลาดแต่นานมา                    ของชนชาวล้านนาสุโขทัย





พอขึ้นรถนิ่งเป็นหลับขยับแดก              พอให้แยกย้ายกันเราก็หลง


ตื่นขึ้นมาก็ทำหน้าตามึนงง                     อ้าวๆ ลง ไปถ่ายรูปอย่าอู้กัน




                                                      แม้อ่อนล้าอ่อนเพลียจากการทัวร์            หัวเราะรั่วฮาเฮกับเพื่อนผอง


                                                     เที่ยวบวกเรียนแล่นไปตามครรลอง      “น้ำมนต์ร้อง จับจู๋สนุกจริง 


 เรื่อง/ภาพ นาย ทรงพล พัฒนพูนทอง 49020137












ทริป “เก้าวันสี่พันรูป”วันที่๘

วันที่๘(31/07/2553)


                วันนนี้ตื่นมาแบบง่วงๆงงๆอีกแล้วเพราะเมื่อวานไปเล่นเกมจนดึกกลับมาก็ตี ๒ มีข่าวแว่วๆมาว่าวันนี้ต้องซื้อมื้อเที่ยงไปกินอีกแล้ว เมื่อทำธุระส่วนตัวเสร็จก็ลงไปกินมื้อเช้าและซื้อมื้อเที่ยง ขึ้นรถก็หลับ จุดหมายปลายทางแรกของเราวันนี้ก็คือที่บ้าน อ.ตี๋

บ้าน .ตี๋
                เป็นบ้านไม้แบบเก่าที่ไม่เก่าบรรยากาศภายในบ้านัดได้หน้าอยู่และเย็นสบายมากทั้งๆที่ข้างนอกร้อนมากๆ หลังจะเป็นสวนที่มีการจัด Landscape ให้สนามหญ้าอยู่ตรงกลาง และทางเดินอยู่รอบๆเป็นการสร้างพื้นที่ปิดล้อมโดยใช้ circulation หลังจากนั่งเล่นบ้าน .ตี๋ ซักพักก็ออกไปถ่ายรูปในชุมชน ซึ่ง ในสมัยก่อนชุมชนแถบนี้เป็นชุมชนของคนจีนจึงร้านค้ามากมาย ซึ่งตลอดสองข้างทางของถนนส่วนใหญ่จะเป็นตึกแถวไม้เรียงรายกันเต็มทั้ง ๒ ฝั่ง แสดงถึงวิถีชีวิตในแบบชุมชนโบราณให้บรรยากาศของชุมชนที่เก่าแก่เมื่อเดินไปจนสุดเลี้ยวไปทางขวาข้ามสะพานไปก็จะพบกับชุมชนอีกชุมชนหนึ่งที่อยู่ริมน้ำชื่อว่า ชมชุนเกาะกง ลักษณะของบ้านจแตกต่างที่เดินผ่านมาในตอนแรก บเนจะยกใต้ถุนสูงมากๆเพื่อหนีน้ำขึ้นน้ำลง มีสะพานไม้เชื่อมต่ทั้ง ๒ ฝั่ง บ้านส่นใหญ่จะมี terace นั่งเล่นอยู่บริเวณด้านหน้าซึ่งเปิดโล่งและใช้รับแขกได้ด้วยให้บรรยากาศแบบชาวบ้านๆซึ่งดูอบอุ่นและนิ่มนวลไม่เหมือนกับคอนกรีตที่ดูแข็งๆเป็นบรรยากาศที่หาได้ยากจริงๆ เมื่อเดินถ่ายกันจนเหื่อยแล้วก็เดินกลับมาที่บ้าน อ.ตี๋เพื่อมากินมื้อเที่ยงซึ่ง กินฟรีเพราะว่าทางบ้าน .ตี๋ เลี้ยงจึงทำให้กับข้าวมื้อเที่ยงที่ซื้อมาไม่มีความหมายและจะซื้อมาทำไมก็ไม่ทราบ ข่าวลือนี่เชื่อไม่ค่อยได้จริงๆ


สนามบินสุโขทัย
                พอมาถึงก็ตกใจมากไม่น่าเชื่อว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจะเอามาทำสนามบินได้ ซึ่งเป้นสนามบินไม่กี่แห่งในโลกที่ไม่มีการปรับอากาศในตัวอาคารผู้โดยสาร โดยเจ้าหน้าที่ที่สนามบินบอกว่าจะมีน้ำหยดลงมาจากหลังคาเพื่อลดความร้อนด้วย ตัวอาคารสนามบินใช้ระเบียบมาจากสถาปัตยกรรมสุโขทัยไม่ว่าจะเป็นช่องเปิดแนวตั้ง texture การเรียงอิฐ แสดงถึงเอกลักษณ์ความเห็นสุโขทัย และมีการจัด Landscape เป็นลายผ้าถ้ามองลงมาจากเครื องบินถึงจะเห็น เป็นการจัด Landscape ที่ไม่ค่อยสัมพันธ์กับผู้ใช้อาคารเท่าไหร่ รอบๆบริเวณสนามบินก็จะมีสระน้ำอยู่เป็นระยะๆเพื่อที่พัดความชื้นเข้าสู่ตัวอาคาร

โรงแรมสนามบินสุโขทัย
                เป็นโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่ที่นำสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเข้ามาสอดแทรกได้อย่างลงตัว อย่างการเจาะช่องเปิดแนวตั้ง Texture การเรียงอิฐ และ รูปปั้นช้างที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัดช้างล้อม เมื่อเข้าไปจะเป็นโถงต้อนรับนักท่องเที่ยวและเมื่อออกไปก็จะพบกับสระน้ำขนาดใหญ่การวางผังก็คือจะให้สระน้ำอยู่ตรงกลางและฟังชั่นอื่นๆก็จะอยู่รอบๆสระน้ำ ซึ่งสระน้ำนี้จะเชื่อมแมสนำสายตาไปสู่สระว่ายน้ำด้านข้างได้ด้วย การวางผังจัด circulation โดยไม่ให้เข้าทางด้านหน้าโดยตรงแต่จะให้เดินอ้อมเข้าทางด้านข้างทำให้มีลีลาในการเข้าถึงเหมือนที่วัดนางพญา ตัวอาคารทั้งหมดและการตกแต่งก็จะเป็นสไตล์พื้นถิ่นบวกกัยวัสดุสมัยใหม่ ให้ความรู้สึกแบบ Modern พื้นถิ่น หลังจากนั้นทางคณะทัวร์ก็ออกจากโรงแรม ไปถ่ายรูปบ้านตามหมู่บ้านและกลับที่พักซึ่งพรุ่งนี้เราก็จะ check out กลับกรุงเทพแล้ว

ทริป “เก้าวันสี่พันรูป”วันที่๗

วันที่๗(30/07/2553)

วันที่๗
วันนี้ตื่นมาด้วยความง่วงมากนั่งเล่นเกมส์กับเพื่อนถึงตี ๔ ตื่นมาเข้าห้องน้ำไปหาอะไรกินแล้วก็ซื้อมื้อเที่ยงอีกเล่นเคยซึ่งวันนี้เป้าหมายของคณะทัวร์คือ ไป อุทยานประวัติศาสตร์ที่ อ.ศรีสัชนาลัย ขึ้นรถตีตั๋วนอนพร้อมลุย!

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร
ทางเข้าวัดต้องเดินข้ามสะพานแขวนเข้าไปที่ให้หวาดเสียวปนสนุกในขณะเดินทางไปวัด เจดีย์เป็นเจดีย์แบบพระปรางค์วัดศรีสวายซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากขอม และ มีบันไดเดินขึ้นไป

กำแพงทางเดินโดยรอบจะเอาศิลาแลงมาวางทั้งท่อนคล้ายๆกับเสา มีการเจาะช่งหน้าต่างเป็นช่องตั้ง มีเสาเล็กๆวางอยู่ตามขอบกำแพงด้านสันนิษฐานว่าเป็นเสาประทีป ใช้จุดประทีปตอนกลางคืน หัวเสาจะเป็นลายปั้นปูนที่งดงาม มีการวางแกนอาคารแบบสมมาตร ตัววิหารหน้าพระปรางมีการเล่นเส้นตั้งของเสาล้อกับตัวพระปรางค์ด้านหลังแล้วเอาPlane พระพุทธรูปมาเบรกตัวพระปรางค์ไว้ทำให้บังทางบันไดทางขึ้นให้และทำให้ตัวพระปรางค์ด้านหลังดูไม่สูงจนเกินไป มีการเล่นเส้นสายของกำแพงศิลาแลงให้นำสายตาพุ่งเข้าไปยังพระพุทธรูป และยังมีการเจาะช่องเปิดเป็นเส้นตั้งตัดกับเส้นนอนของศิลาแลงและการเรียงอิฐ ช่วยเบรกให้ Mass ดูมีความหลากหลายมากขึ้น


วัดโคกสิงคาราม
ภายในวัดจะประกอบด้วยเจดีย์ทรงระฆัง ๓ องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ด้านหน้าเจดีย์เป็นวิหาร ถัดจากวิหารออกมาเป็นโบสถ์ ภายในโบสถ์มีเจดีย์ทรงระฆังด้านหน้ารทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป รอบๆ เจดีย์ประธานล้อมรอบด้วยเจดีย์ก่อด้วยศิลาแลง ๔ องค์
จากรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ปรากฏพบว่าที่เจดีย์องค์ประธานด้านหลังนั้นเป็นการก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยต่อมา เดิมทีมีเพียง๒องค์ส่วนตัวโบสถ์มีเจดีย์ทรงระฆังในอาคารนั้นพบเพียงแห่งเดียวในเมืองศรีสัชนาลัยโดยทั่วไปแล้วเจดีย์จะอยู่ภายนอกอาคาร



วัดกุฎีราย
วัดกุฎีรายประกอบด้วยมณฑป ๒ หลังใหญ่ตั้งอยู่ติดริมถนนเป็นอาคารก่อด้วยศิลาแลงทั้งหลัง ตั้งแต่ส่วนฐานรากถึงหลังคา ซึ่งใช้ศิลาแลงก่อเหลื่อมเข้าหากันป็นทรงจั่วเหลี่ยมเลียนหลังคาเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้อง ภายในเป็นซุ้มอาคารฐานศิลาแลง ๕ ห้องมีมุขหน้ายื่นออกมาซึ่งดูแล้วไม่เหมือนกับวัดอื่นๆที่ผ่านๆมา



ศูนย์ศึกษาอนุรักษ์สังคโลก
เมื่อดูจากภายนอกแล้วจะเห็นได้ว่มีการใช้วัสดุที่เป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัยก็คือ อิฐ โชว์แนวไม่ฉาบปูนเมื่อเข้าไปก็จะพบกับส่วนจัดแสดงวัตถุโบราณ และเมื่อเดินผ่านห้องนี้ไปก็จะไปสู่ห้องที่แสดงเตาสังคโลกสมัยโบราณซึ่งอยู่ใต้ดินในห้องมีการใช้โครงสร้างพาดช่อวงกว้างโดยใช้การถ่ายน้ำหนักของ truss และ การเดินชมภายในห้องนี้ก็จะมีการดึงระเบียงมาใช้ร่วมกับ Landscape ให้สัมพันธ์กับ Space ภายใน คือมีการเดินเข้าๆ ออกๆ ของตัวอาคาร เพื่อดึง Space ภายนอกมาใช้อยู่เรื่อยๆ และที่นี่ก็ยังมีช่องเปิดแบบซี่เล็กๆให้เห็นอยู่โดยรวมแล้วจะเป็นอาคารสมัยใหม่ที่ดึงเอกลักษณ์ของอาคารเก่าสุโขทัยไทยมาใช้



วัดเจดีย์เก้ายอด , วัดเจดีย์เอน , วัดเขาใหญ่ 2
เป็นวัดสร้างอยู่บนสันเขาวัสดุที่ใช้เป็นศิลาแลงและการก่ออิฐ เป็นวัดที่มีการแก้ปัญหาการสร้างอาคารอยู่บนคอนทัวร์ Step ที่งดงามมีการปรับระดับที่ไม่ทำลายเนินที่มีอยู่ สอดแทรกตัวสถาปัตยกรรมเข้ากับเนินได้อย่างแนบสนิทที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือการวางเสาของวิหารที่วัดเจดีย์เก้ายอดมีก็เล่นระดับไปตามคอนทัวร์ดูแล้วสวยงามน่าสนใจ


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
คณะทัวร์ได้มาถึงที่อุทยานในเวลาบ่ายแก่ๆทางเข้าของอุทยานต้องข้ามคลองไปทางด้านข้าง ที่มีการขุดคลอดก็เพราะว่าสมัยก่อนใช้เป็นการป้องกันศัตรู และที่เข้าด้านข้างเพราะ ทำให้ศัตรูเข้าถึงได้ยาก ซึ่งจะทำเป็นกำแพง ๓ ชั้นล้อมรอบเมืองศรีสัชนาลัย คือจะมี น้ำสลับกับกำแพง เรียกว่าตรีบูน

วัดนางพญา
เป็นวัดที่ทำด้วยศิลาแลงสร้างสมัยอโยธยาซึ่งมีวิหารอยู่ข้างหน้าและเจดีย์อยู่ด้านหลัง ตัว มีการฉาบปูนที่ผนังและเปิดช่องเปิดตามตั้งในแบบสุโขทัยแต่ว่าที่วัดนนี้นั้นจะมีการประดับลายที่ผนังด้วย ซึ่งจะเป็นลายที่ม้วนๆ มนๆ เรียกว่า ลาย พฤกษา ซึ่งเป็นวิธีตกแต่งผนัง มีการทำเสานางเลียงเพื่อรับตัวกันสาดนอกอาคาร การสัญจรภายในนั้นจะไปเข้าตรงๆแต่จะเดินหลบๆอ้อมๆซึ่งเป็นการเข้าถึงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งหลายๆวัดก็ทำแบบนี้ ผ่านตัววิหารไปก็จะพบกับเจดีย์ทีร่เยอะๆมากอัดแน่นกันเต็มพื้นที่ โดยมีพระปรางค์เป็นประธานอยู่ตรงกลาง




วัดช้างล้อม
เป็นวัดที่มีวิหารโถงอยู่ด้านหน้าซึ่งมีความสูงมากและมาการยกพื้นสูงล้อกับตัวเจดย์ที่ยกสูงที่อยู่ด้านหลัง บริเวณรอบๆเจดีย์ก็จะมีรูปปั้นช้างยืนอยู่รอบๆเต็มไปหมด เมื่อขึ้นไปถึงบานเจดีย์แล้วจะมี corridor รอบๆเจดีย์ทำให้เดินได้รอบเป็นการกั้น Space ใน Space อีกทีหนึ่ง หลังจากนั้นทางคณะทัวร์ก็พากันขึ้นเขากันไป แต่ผมเกิดสะดุดบันไดล้ม ขาเจ็บจึงไม่ได้ขึ้น

ทริป “เก้าวันสี่พันรูป”วันที่๖

วันที่๖(29/07/2553)

ตื่นขึ้นมาด้วยความปวดขา เพราะเมื่อวานไปนวดแผนไทยมา ไม่รู่ว่าเกี่ยวกันรึเปล่า พอทำธุระส่วนตัวเสร็จก็ลงไปหาอะไรกินแล้วซื้อมื้อเที่ยงติดมาอีกเช่นเคยขึ้นรถก็ตีตั๋วนอนอีกแล้วหลับจนถึงจุดแรกที่ต้องแวะของวันนี้ที่ จ.อุตรดิตถ์

บ้านไผ่เขียว ต.ไผ่เขียว

ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านไม้มุงด้วยหลังคาสังกะสี ที่น่าสนใจก็คือการใช้ระนาบของฝาผนัง มากั้น Space ต่างๆทำให้เกิดพื้นที่ปิดล้อมที่ทึบบ้างโปร่งบ้าง คล้ายๆกับหมู่บ้านที่สุโขทัยแต่ว่าที่ อุตรดิตถ์ จะมีการเล่น façade ของซี่ไม้ให้ความสวยงามไปอีกแบบ



วัดดอนสัก
                คณะทัวร์ได้พักกินมื้อเที่ยงที่นี่และได้ถือโอกาสทำบุญถวายหลอดไฟพรรษาเนื่องในวันเข้าพรรษาที่วัดนี้เลย หลังจากกินมือ้เที่ยงและทำบุญเสร็จแล้วคณะทัวร์ก็ออกไปถ่ายรูปกัน
                วัดดอนสักมีวิหารที่มีหน้าจั่วและบานประตูไม้แกะสลักที่สวยงามตั้งแต่สมัยอยุธยาซึ่งประตูบานหน้าและบานหลังจะไม่เหมือนกัน ประตูด้านหน้าเป็นประตูบานใหญ่เปิดเพื่อรับแสงเข้าไปในโบสถ์เพื่อให้โบสถ์ไมมืดทึบจนเกินไป ถ้าไม่มีลวดลายที่ประตูและหน้าจั่วจะทำให้ตัวโบสถ์ดูจืดชืด แสดงให้เห็นถึงความคิดของ่างโบราณที่ออกแบบลวดลายมาให้เข้ากับโครงสร้างและสัดส่วนอาคารได้อย่างลงตัว

หมู่บ้าน .ลับแล
                โดยทั่วไปแล้วจะเหมือนหมู่บ้านที่ บ้านไผ่เขียว ต.ไผ่เขียว ที่ได้ไปดูมาเมื่อเช้า ซึ่งจะเป็นบ้านไม้มุงด้วยหลังคาสังกะสี ที่น่าสนใจก็คือการใช้ระนาบของฝาผนัง มากั้น Space ต่างๆทำให้เกิดพื้นที่ปิดล้อมที่ทึบบ้างโปร่งบ้าง มีการเล่นเส้นสายของวัสดุได้อย่าหน้าสนใจ และมีการปลูดพืชให้สอดแทรกกับตัวลานบ้านได้อย่างร่มรื่น

วัดท้องลับแล
            เดินไปถึงหน้าวัดฝนก็ตกมาอย่างหนักจึงต้องหาที่หลบกัน เลยเข้าไปหลบในศาลาหน้าวัด ไม่ได้เขจ้าไปถ่ายในวัดเลย แต่ที่วัดนี้มีศาลาลอยน้ำอยู่ที่บริเวณหน้าวัดลักษณะสถาปัตยกรรมจะคล้ายๆกับเรือนไทยสมัยสุโขทัย และมีการประดับตกแต่งที่ตะเข้สันและชายคาอย่างสวยงาม เมื่อฝนหยุดแล้วก็เดินถ่ายบ้านแถวๆนั้นอีก - หลังแล้วก็กลัที่พักที่สุโขทัย