วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทริป “เก้าวันสี่พันรูป”วันที่๗

วันที่๗(30/07/2553)

วันที่๗
วันนี้ตื่นมาด้วยความง่วงมากนั่งเล่นเกมส์กับเพื่อนถึงตี ๔ ตื่นมาเข้าห้องน้ำไปหาอะไรกินแล้วก็ซื้อมื้อเที่ยงอีกเล่นเคยซึ่งวันนี้เป้าหมายของคณะทัวร์คือ ไป อุทยานประวัติศาสตร์ที่ อ.ศรีสัชนาลัย ขึ้นรถตีตั๋วนอนพร้อมลุย!

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร
ทางเข้าวัดต้องเดินข้ามสะพานแขวนเข้าไปที่ให้หวาดเสียวปนสนุกในขณะเดินทางไปวัด เจดีย์เป็นเจดีย์แบบพระปรางค์วัดศรีสวายซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากขอม และ มีบันไดเดินขึ้นไป

กำแพงทางเดินโดยรอบจะเอาศิลาแลงมาวางทั้งท่อนคล้ายๆกับเสา มีการเจาะช่งหน้าต่างเป็นช่องตั้ง มีเสาเล็กๆวางอยู่ตามขอบกำแพงด้านสันนิษฐานว่าเป็นเสาประทีป ใช้จุดประทีปตอนกลางคืน หัวเสาจะเป็นลายปั้นปูนที่งดงาม มีการวางแกนอาคารแบบสมมาตร ตัววิหารหน้าพระปรางมีการเล่นเส้นตั้งของเสาล้อกับตัวพระปรางค์ด้านหลังแล้วเอาPlane พระพุทธรูปมาเบรกตัวพระปรางค์ไว้ทำให้บังทางบันไดทางขึ้นให้และทำให้ตัวพระปรางค์ด้านหลังดูไม่สูงจนเกินไป มีการเล่นเส้นสายของกำแพงศิลาแลงให้นำสายตาพุ่งเข้าไปยังพระพุทธรูป และยังมีการเจาะช่องเปิดเป็นเส้นตั้งตัดกับเส้นนอนของศิลาแลงและการเรียงอิฐ ช่วยเบรกให้ Mass ดูมีความหลากหลายมากขึ้น


วัดโคกสิงคาราม
ภายในวัดจะประกอบด้วยเจดีย์ทรงระฆัง ๓ องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ด้านหน้าเจดีย์เป็นวิหาร ถัดจากวิหารออกมาเป็นโบสถ์ ภายในโบสถ์มีเจดีย์ทรงระฆังด้านหน้ารทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป รอบๆ เจดีย์ประธานล้อมรอบด้วยเจดีย์ก่อด้วยศิลาแลง ๔ องค์
จากรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ปรากฏพบว่าที่เจดีย์องค์ประธานด้านหลังนั้นเป็นการก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยต่อมา เดิมทีมีเพียง๒องค์ส่วนตัวโบสถ์มีเจดีย์ทรงระฆังในอาคารนั้นพบเพียงแห่งเดียวในเมืองศรีสัชนาลัยโดยทั่วไปแล้วเจดีย์จะอยู่ภายนอกอาคาร



วัดกุฎีราย
วัดกุฎีรายประกอบด้วยมณฑป ๒ หลังใหญ่ตั้งอยู่ติดริมถนนเป็นอาคารก่อด้วยศิลาแลงทั้งหลัง ตั้งแต่ส่วนฐานรากถึงหลังคา ซึ่งใช้ศิลาแลงก่อเหลื่อมเข้าหากันป็นทรงจั่วเหลี่ยมเลียนหลังคาเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้อง ภายในเป็นซุ้มอาคารฐานศิลาแลง ๕ ห้องมีมุขหน้ายื่นออกมาซึ่งดูแล้วไม่เหมือนกับวัดอื่นๆที่ผ่านๆมา



ศูนย์ศึกษาอนุรักษ์สังคโลก
เมื่อดูจากภายนอกแล้วจะเห็นได้ว่มีการใช้วัสดุที่เป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัยก็คือ อิฐ โชว์แนวไม่ฉาบปูนเมื่อเข้าไปก็จะพบกับส่วนจัดแสดงวัตถุโบราณ และเมื่อเดินผ่านห้องนี้ไปก็จะไปสู่ห้องที่แสดงเตาสังคโลกสมัยโบราณซึ่งอยู่ใต้ดินในห้องมีการใช้โครงสร้างพาดช่อวงกว้างโดยใช้การถ่ายน้ำหนักของ truss และ การเดินชมภายในห้องนี้ก็จะมีการดึงระเบียงมาใช้ร่วมกับ Landscape ให้สัมพันธ์กับ Space ภายใน คือมีการเดินเข้าๆ ออกๆ ของตัวอาคาร เพื่อดึง Space ภายนอกมาใช้อยู่เรื่อยๆ และที่นี่ก็ยังมีช่องเปิดแบบซี่เล็กๆให้เห็นอยู่โดยรวมแล้วจะเป็นอาคารสมัยใหม่ที่ดึงเอกลักษณ์ของอาคารเก่าสุโขทัยไทยมาใช้



วัดเจดีย์เก้ายอด , วัดเจดีย์เอน , วัดเขาใหญ่ 2
เป็นวัดสร้างอยู่บนสันเขาวัสดุที่ใช้เป็นศิลาแลงและการก่ออิฐ เป็นวัดที่มีการแก้ปัญหาการสร้างอาคารอยู่บนคอนทัวร์ Step ที่งดงามมีการปรับระดับที่ไม่ทำลายเนินที่มีอยู่ สอดแทรกตัวสถาปัตยกรรมเข้ากับเนินได้อย่างแนบสนิทที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือการวางเสาของวิหารที่วัดเจดีย์เก้ายอดมีก็เล่นระดับไปตามคอนทัวร์ดูแล้วสวยงามน่าสนใจ


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
คณะทัวร์ได้มาถึงที่อุทยานในเวลาบ่ายแก่ๆทางเข้าของอุทยานต้องข้ามคลองไปทางด้านข้าง ที่มีการขุดคลอดก็เพราะว่าสมัยก่อนใช้เป็นการป้องกันศัตรู และที่เข้าด้านข้างเพราะ ทำให้ศัตรูเข้าถึงได้ยาก ซึ่งจะทำเป็นกำแพง ๓ ชั้นล้อมรอบเมืองศรีสัชนาลัย คือจะมี น้ำสลับกับกำแพง เรียกว่าตรีบูน

วัดนางพญา
เป็นวัดที่ทำด้วยศิลาแลงสร้างสมัยอโยธยาซึ่งมีวิหารอยู่ข้างหน้าและเจดีย์อยู่ด้านหลัง ตัว มีการฉาบปูนที่ผนังและเปิดช่องเปิดตามตั้งในแบบสุโขทัยแต่ว่าที่วัดนนี้นั้นจะมีการประดับลายที่ผนังด้วย ซึ่งจะเป็นลายที่ม้วนๆ มนๆ เรียกว่า ลาย พฤกษา ซึ่งเป็นวิธีตกแต่งผนัง มีการทำเสานางเลียงเพื่อรับตัวกันสาดนอกอาคาร การสัญจรภายในนั้นจะไปเข้าตรงๆแต่จะเดินหลบๆอ้อมๆซึ่งเป็นการเข้าถึงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งหลายๆวัดก็ทำแบบนี้ ผ่านตัววิหารไปก็จะพบกับเจดีย์ทีร่เยอะๆมากอัดแน่นกันเต็มพื้นที่ โดยมีพระปรางค์เป็นประธานอยู่ตรงกลาง




วัดช้างล้อม
เป็นวัดที่มีวิหารโถงอยู่ด้านหน้าซึ่งมีความสูงมากและมาการยกพื้นสูงล้อกับตัวเจดย์ที่ยกสูงที่อยู่ด้านหลัง บริเวณรอบๆเจดีย์ก็จะมีรูปปั้นช้างยืนอยู่รอบๆเต็มไปหมด เมื่อขึ้นไปถึงบานเจดีย์แล้วจะมี corridor รอบๆเจดีย์ทำให้เดินได้รอบเป็นการกั้น Space ใน Space อีกทีหนึ่ง หลังจากนั้นทางคณะทัวร์ก็พากันขึ้นเขากันไป แต่ผมเกิดสะดุดบันไดล้ม ขาเจ็บจึงไม่ได้ขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น