วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Assignment #4 Professional Practice 53

งานชิ้นที่ 4 ของวิชา ปฏิบัติวิชาชีพ ชั้นปีที่ สถ.5

สัมภาษณ์ "สถาปนิก Idol รุ่นพี่ลาดกระบัง"


การปฏิบัติการครั้งนี้เป้าหมายของเราคือ
OFFICE เล็กๆในหมู่บ้านรื่รมย์ แถวๆ ตลิ่งชัน

หลังจากที่โทรศัพท์ถามทางOFFICE เรื่องเส้นทางและที่อยู่ของบริษัทในที่สุดเราก็มาถึง
OFFICE เล็กๆในหมู่บ้านรื่รมย์ ซึ่งเคยเป็นทาวเฮาส์ 2 ห้องมาก่อน ซึ่งมีร่องรอยการต่อเดิม
มาเป็น สำนักงานให้เห็นอยู่ ชายวัยกลางคนท่าทางดุดันออกมาต้อนรับเราแล้วบอกให้นั่งรอ
หน้า OFFICE เพราะว่าตอนนี้เป็นเวลางานอยู่ ซึ่ง OFFICE จะเลิก 16.30 น. แต่เราไปถึงที่หมาย
ก่อนเวลาครึ่ง ชม. ในภาระกิจการสัมภาษณ์ครั้งนี้ เป้าหมายของเราคือ "พ่อพี่หวาน" คุณพ่อของ
รุ่นพี่คนหนึ่งในคณะซึ่งเขาแนะนำให้มาสัมภาษณ์พ่อของตนเอง ซักพักก็ มีคนเดินมาบอกว่า
ให้เข้าไปนั่งรอใน OFFICE และหลังจาก 16.30 น.ก็เริ่มปฏิบัติภารกิจในการสัมภาษณ์ทันที

ชายวัยกลางคนที่ออกมาต้อนรับเราในตอนแรกมานั่งที่เก้าอี้รับแขกแล้วก็บอกว่า " เอ้า สัมภาษณ์เลย "
และแล้วการสัมภาษณ์ก็ได้เริ่มขึ้น

คำถามแรกคืออยากทราบประวัติส่วนตัวของพ่อพี่หวานครับ
ชื่อ ยุงยุทธ ศรีอุทัย
ประวัติการศึกษา
ประถม เรียนที่นครราชสีมา
มัธยมต้น อัชสัมชันศรีราขา
มัธยมปลาย โรงเรียนสวนกุหลาบ
อำนวยศิลป์
ปริญญาตรี คณะสถาปัตย์ลาด จบการศึกษา ปี 2521

ปัจจุบันตำแหน่ง
MANAGING DIRECTOR บ.BRAINIA NARIN & ASSOCIATES

ลักษณะงาน รับออกแบบคารทุกประเภท

ขออณุญาตเรียกว่าพี่ยงยุทธแล้วกันนะครับ

อยากให้ พี่ยงยุทธ ยกตัวอย่างงานที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการประกอบวิชาชีพหน่อยครับ

ในแง่ไหนมันมีหลายอย่าง
ในแง่การแก้ปัญหา
ในแง่งานตามเป้าหมาย หรืออะไร?

อยากให้ยกตัวอย่างมาซักหนึ่งงานครับในแง่ไหนก็ได้ครับที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อรุ่นน้องที่จะจบไปประกอบวิชาชีพ

เอางี้เอาเป็นงาน Fifty-Fifth Tower ซอยทองหล่อเป็นงานที่ถือว่าประสบกความสำเร็จในทุกด้านในด้านการออกแบบและในด้านลูกค้าด้วย

ประสบความสำเร็จยังไงครับ

คือแบบนี่เราใช้พื้นที่ได้คุ้มค่า ส่วนของลูกค้าก็ในเรื่องการขาย สามารถขายหมดได้อย่างรวดเร็ว ก็ทำให้เป็นอาคารที่ทำชื่อเสียงให้กับบริษัท

มีอุปสรรคในการทำงานบ้างมั้ยครับ

อ๋อมันต้องมีอยู่แล้วก็เป็นเรื่องอุปสรรคธรรมดาของเรื่องงานก่อสร้าง เช่น บางทีการเขียนแบบบางทีมันเขียนไม่ครบถ้วน เพราะว่าบางทีเราทำแบบมันไม่เหมือนกับสร้างจริงไง บางทีในแบบเรามองไม่หมด ก็มีการขอDetail เพิ่มเติมหรือทำแบบก้ไขไป




                                                     FiFty-FiFth TOWER



พี่ยงยุทธมีแนวคิดในการทำงานยังไงบ้างครับ

ก็คือสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า ก็คือประโยชน์ในทุกๆด้าน
ประการแรกก่อนก็คือด้านการใช้สอย
ประการที่สอง ก็คือในเรื่องของงบประมาณ
ประการที่สามก็คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม

มีหลักในการประกอบวิชาชีพอย่างไรบ้างครับ

หลักมันก็ไม่มีอะไรมากก็ทั่วๆไปคือเราต้องซื่อสัตย์ต่ออาชีพ อย่าหลอกลูกค้า อย่าหวังที่จะไปหาผลประโยชน์จากลูกค้า หรือมีอะไรแอบแฝง เมื่อตกลงกับลูกค้าแล้วก็ต้องปฏิบัติงานให้กับลูกค้าเต็มที่ไม่ว่าค่าตอบแทนจะเป็นเท่าไหร่ ก็ถือว่าเรายอมรับตรงนั้นแล้ว ถ้าอย่างงั้นอย่ารับดีกว่า

คิดเห็นอย่างไรกับการออกแบบที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น การใช้ LEED มาควบคุมอาคาร

เป็นเรื่องที่ต้องคำนึวถึงอย่างมาก แล้วต้องคิดกันมานานแล้ว แต่ในปัจจุบันเราไม่ค่อยได้ใส่ใจคือจริงๆแล้วในสถาบันการศึกษาก็ไม่ค่อยได้พูดถึงตรงนี้ด้วย ทั้งๆที่เป็นเรื่องสำคัญ ในประเทศไทยมันควรจะใช้ LEED มานานแล้ว ผมศึกษาเรื่องนี้มาเป็น 10 ปีแล้วมันมีมาเป็น 10 ปีแล้วจริงๆมันควรจะมีผลต่อทางภาครัฐ ถ้าอาคารนี้ลงทุนในเรื่องของสิ่งแวดล้อม อาคารนี้ควรจะได้ส่วนลดอะไรบ้าง ก็เป็นการให้รู้สึกว่าเจ้าของอาคารกับผู้ลงทุนไม่ได้มาเสียเงินลงทุนกับตรงนี้มากเกินไปเพราะมันมีผลต่อต้นทุนของเขา จริงๆไม่ใช่เฉพาะเรื่องอาคาร สิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้คือต้องรอให้มีผลลัพธ์ออกมาก่อนแล้วค่อยมาคิดกัน รัฐบาลต้องเริ่มดูในเรื่องนี้แล้วคิดก่อนว่ามันจะมีปัญหาอะไรบ้าง


คือน่าจะบังคับใช้ในทางกฎหมายได้หรือยังครับ

มันต้องใช้ ต้องบังคับใช้เพราะตอนนี้ดูสิที่อื่นเขามองในเรื่องนี้ สังเกตง่ายๆอย่างเรื่อง Green house Effect อย่างน้ำแข็งขั้วโลกที่มันละลาย ในโลกมันเปลี่ยนแปลงไป อย่างเรานี่การใช้พลังงานในอาคาร คือ อย่างเราออกแบบไม่ใช่เอาแต่สวยๆอย่างเดียวไม่คิดถึงเรื่องอื่นก็คือเห็นแก่ตัว อย่างเราเมืองร้อนเนี่ยอากาศเราอยู่ในโซน typical zone เราควรจะทำอาคารยังไง เหมือนอย่างคนอยู่เมืองหนาวเขาก็ใส่เสื้อหนา คนอยู่เมืองร้อนก็ต้องใส่เสื้อที่ระบายอากาศ ไม่ใช่ว่าอยู่เมืองร้อนจะไปใส่เสื้อหนาเหมือนคนเมืองหนาว


ในสมัยที่พี่ยงยุทธยังเรียนอยู่การเรียนและการทำงานในสมัยนั้นมันเป็นอย่างไรบ้างครับ

คือต้องพูดตรงนะว่า กระบวนการสอนเราขาดการมองสภาพความเป็นจริงเราเน้นแต่ในทางทฤษฎีเราให้นักศึกษาไปดูงานจริงน้อยมาก ถ้าไปดูงานจริงนักศึกษาจะได้เข้าใจอะไรได้มากขึ้นเวลาจบออกไปก็จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นรู้อะไรมากขึ้นไม่งั้นเราจบออกไปคือเราไม่รู้อะไรเลย มาได้เอาตอนทำงานซะมากกว่า ซึ่งมันผิดมันควรจะเรียนมาแล้วเนี่ยจบมาต้องทำงานได้ หลายคนเขาพูดว่า ทำงานกับตอนเรียนไม่เหมือนกันเลยทำไมถึงเกิดคำพูดนี้ขึ้นมามันก็สะท้อนจากนโยบายการวางหลักสูตรนโยบายมันมีปัญหาหรือเปล่า โดยความเห็นผมนี่ หลายอย่างก็ไม่รู้จะให้ไปเรียนกันทำไม เรียน STRUCTURE เรียนMATH อังกฤษน่ะจำเป็นนะจำเป็นต้องเรียนแต่ไม่ให้ความสำคัญ เรียนต้องเรียนให้ได้เรื่องด้วยไม่ใช่ให้อังกฤษ 2 หน่วยกิตเงี้ย ต้องให้ 3 เลยเท่าคอนน่ะคือเราต้องไปโลกกว้าง เราต้องค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษทั้งนั้น ซึ่งพวกวิชา STRUCTURE ไรงี้มันทำให้นักศึกษาตกแล้วก็ต้องซ้ำสียค่าใช้จ่ายขึ้นมาเสียค่ารักษาสิทธิ์นักศึกษา ไม่รู้ว่าเคยมองหรือเปล่าระดับผู้บริหารน่ะ คิดดูสิว่านี่มันผ่านมากี่ปีแล้ว สามสิบ สี่สิบปีแล้ว จะให้เราเรียนคำนวณเหมือนวิศวะ มันก็ได้เราก็คำนวณได้เราเด็กวิทย์นี่ แต่ก็ไม่รู้คำนวณไปทำไมเพราะวิศวะก็มีอาชีพของเขาเอาเวลาเหล่านี้มาแบ่งให้กับวิชาหลัก Design Con และอังกฤษ ดีกว่า

อย่างสถาปนิกที่จบใหม่ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่จึงจะสามารถรับงานเองหรือเปิด OFFICE ของตัวเองได้ครับ

มันสองประเภทนะ คือคนที่รู้มากมีประสบการณ์ กับ คนที่ คัน คัน คือยาก น่ะ อย่างผมน่ะเป็นคนที่คัน แต่พอทำงานไปก็รู้ว่าผมเปิดเร็วไป คือบางทีคนก็ไม่เข้าใจ คือเห็นว่าเป็นสถาปนิกก็คิดว่าออกแบบได้ แต่มันก็ต้องใช้ประสบการณ์กันพอสมควร คือมันอยู่ที่ประสบการณ์เป็นตัวสำคัญ แต่ประสบการณ์มันก็ไม่เกี่ยวกับอายุนะ อายุน้อยแต่ประสบการณ์มากทำงานมามากก็มี แล้วมันต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องบริหารด้วย รู้เรื่องออกแบบแต่ไม่รู้เรื่องบริหารก็ไปไม่รอด


พี่ยงยุทธมีหลักการบริหาร OFFICE ยังไงบ้างครับ

ก็ไม่มีหลักการอะไรหรอกคือเราก็ต้องทำการตลาด ก็คือ หางานซึ่งก็มาจากพวกคนรู้จัก บางทีก็มีคนมาเห็นงานของเรา จริงๆเราก็เพิ่งทำเว็ปไซต์แสดงผลงานเราออกไป แล้วก็ต้องไปเป็นสมาชิกสมาคมซะ ก็เหมืนทั่วๆไปน่ะเราก็ต้องดูกำลังคนของเรา คนเยอะไปก็เปลืองค่าใช้จ่ายอีก อย่างของเรานี่ก็คนน้อยๆแต่มีคุณภาพ

แล้วอย่างถ้ามีการรับงานโครงการใหญ่ๆนี่พี่ยงยุทธมีการจัดสรรงานกันยังไงบ้างครับ

สิ่งแรกเลยเราก็ต้องดูก่อนว่า เรารับไหวหรือเปล่า ถ้าไม่ไหวก็อาจจะต้องไป ร่วมกับ OFFICE อื่น เราจะไปเปิด OFFICE ใหญ่เลยเราก็ไม่ไหวขนาดนั้น OFFICE ใหญ่ ขนาดของงานก็เลยต้องใหญ่ตามไปด้วยซึ่งไม่ถนัด ถนัดที่จะทำแบบนี้ดีกว่า

อยากจะทราบประวัติ ของ OFFICE พี่ยงยุทธ อย่างคร่าวๆครับ

OFFICE ก่อตั้งตั้งแต่ปี’90 ตอนเริ่มก่อตั้งก็มีสมาชิก 15 คน แต่ตอนนี้เหลือแค่ 6 เราทำงานในลักษณะงานตัดจ้างเอาแต่ไม่ใช่ว่าคนน้อยจะรับงานใหญ่ไม่ได้นะ

พี่ยงยุทธคิดเห็นอย่างไรกับวงการสถาปนิกไทยในปัจจุบันครับ

คือวงการเราต้องการมืออาชีพจริงๆคือเราไม่ได้ถูกปลูกฝังในเรื่องสถาปัตยกรรมตั้งแต่วัยเรียน และ การให้ความสำคัญของสถาปัตยกรรมของเราเนี่ยน้อยมาก ลูกค้าที่เข้าใจมีไม่มาก หรือมองความสำคัญในเรื่องนี้นร้อยมาก เขามองเห็นคุณค่าของสถาปนิกแค่เหมือนกับการซื้อสินค้าชนิดหนึ่งที่มีการต่อรองได้ สถาปนิกก็ยอมที่จะทำงานโดยที่ได้ค่าแบบน้อย สถาปนิกเป็นอาชีพต้องใช้เวลาในการกทำงาน อย่างบางคนอาจจะคิดว่า ได้ค่าแบบ

พี่ยงยุทธคิดว่าวงการสถาปนิกไทยในอนาคตนั้นจะมุ่งไปในทิศทางใดบ้างครับ

คือตราบใดที่ทางสภาหรือสมาคมสถาปนิกเนี่ยไม่รู้ขคิดจริงจังกันแค่ไหน อย่างหนึ่งก็คือต้องให้ชัดเจนในเรื่องของค่าบริการวิชาชีพ ตอนนี้เราก็ยังไม่ได้ตามอัตรานั้นหรอกเราก็จะถูกต่อรอง แต่ถ้าบังคับเลยว่า ถ้าได้ค่าแบบมาแล้วเราต้องเสียภาษีตามอัตรา สมมุติค่าแบบได้ 3% ก็คิดภาษีของ 3% โดยไม่สนใจหรอกว่าเขาจะได้ค่าแบบกี่% มันก็เหมือนเป็นแรงผลักดันในการคิดค่าบริการให้ได้ตามมาตรฐาน ถ้าได้ค่าแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยสถาปนิกก็ทำงานได้เต็มที่ คือจะได้ไม่ต้องมาเถียงกันตรงนี้ ถ้าจะวัดกันนะอย่ามาวัดว่าค่าแบบใครถูก หน่วยงานราชการก็เป็นซะเองคือประกวดค่าแบบซึ่งเรื่องนี้น่าเกลียดมากจริงๆความจริงต้องประนามกันด้วยซ้ำ

แล้วในอนาคตที่ประเทศไทยจะเปิดเสรีในอาชีพสถาปนิกโดยให้ชาวต่างชาติสามารถเข้ามาประกอบอาชีพถาปนิกในประเทศไทยได้ พี่ยงยุทธมีความคิดเห็นอย่างไรครับ

ก็ได้ เราไม่เห็นต้องไปปิดกั้นเขาทำไม ทำไมเราไม่มองกลับกันว่าทำไมเราไม่พัฒนาตัวเอง อย่างนี้เขาเรียกว่าหวงก้าง แต่ทำไมรไปทำที่ประเทศอื่นเราไปทำได้ คิดในมุมกลับกัน อย่างเราไปออกแบบงานที่อื่น สมมุติไป ดูไบ คือ…..อย่ามาหวงกันดีกว่าสิ่งที่สำคัญคือเราต้องพัฒนาตัวเอง เราจะมาคิดว่าตอนนี้เราดีอยู่แล้วมันไม่ใช่ ยกตัวอย่าง สิงคโปร์ เขามาทีหลังเรา เมื่อก่อนเขายังต้องจ้างเราไปออกแบบ เดี๋ยวนี้สิงคโปร์เขาไปไกลแล้ว เขาเป็นออฟฟิซอินเตอร์ทั้งนั้นเลย เรายังอยู่เท่านี้ เพราะฉะนั้นมันคืออะไร นี่คือเรา ไม่พัฒนาตัวเอง


ปัจจุบันนี้มีการตั้งสภาสถาปนิกขึ้นมาเพื่อควบคุมการปฏิบัติวิชาชีพของสถาปนิกพี่ยงยุทธคิดเห็นอย่างไรครับ

ถ้ามันคุมได้ก็ดี แต่ว่า ทำอะไรให้สมเหตุสมผลแล้วกัน แล้วดูเรื่องอะไรสำคัญ ทำในเรื่องที่ควรทำ ปัจจุบันเห็นไอ้ตัวสถาปนิกต้องมีรายงานการทำงานเก็บคะแนนสะสมเพื่อต่ออายุ ดูแล้วมันก็……..จำเป็นรหือเปล่า

ผมเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ในประเทศไทยนั้นการขออณุญาตก่อสร้างให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้นยากกว่าการทำผิดกฎหมายพี่ยงยุทธคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้างครับ

อย่างนี้ก็พูดผิดแล้ว ทำไมล่ะ ทำให้ถูกกฎหมายมันจะมีปัญหาอะไร

คือว่าผมเคยได้ยินมาว่า การขออณุญาตให้ถูกกฎหมายนั้นมันจะใช้ระยะเวลานานกว่าครับ

ถ้าพูดแบบนี้ก็เท่ากับว่า ทรยศ ต่ออาชีพตัวเอง คือกฏหมายเขาว่ายังไง เราก็ต้องมีหน้าที่ทำตามกฎหมาย ถึงแม้ว่ากฎหมายมันอาจจะไม่ดีแต่เราก็ต้องทำตามนั้น หรือไม่ก็เราต้องแก้กฎหมายก่อนแล้วเราค่อยทำผิด คือการกระทำผิดนั้นส่งผลเสียหลายอย่าง คือส่งผลต่อเราเองด้วย และลูกค้าก็ต้องอยู่กับอาคารที่เราสร้าง ซึ่งสมัยนี้เขาให้มีการตรวจอาคารทุกๆ 5 ปีมั้ง แล้วถ้าตรงนี้ลูกค้าผิดไป แล้วใครรับผิดชอบ เราไปแนะนำลูกค้าว่าทำอย่างงี้ๆ ใช่มั้ย เสร็จแล้วตอนนั้นเราอยู่ไหน คือมันเป็นเหมือนกับการทำบาป คือถ้าทำแบบนี้ก็เห็นแก่ตัวไปหน่อย

อย่างช่วงที่ผ่านมานี้ในกรณีของอาคารที่ก่อสร้างโดยผิดกฎหมายแล้วเกิดมีปัญหาขึ้นมาอย่างเช่น ในกรณี ซานติก้า พี่ยงยุทธคิดว่ามันน่าจะเกิดมาจากอะไรครับ

มันเป็นการที่…….เป็นการร่วมมือฉ้อฉล ระหว่างเจ้าของ สถาปนิก และ ข้าราชการ ถ้าไม่เช่นนั้นมันก็เกิดขึ้นไม่ได้โดยไม่นึกถึงปัญหาที่ตามมา การต่อเติมที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ อย่างซานติก้านี่มองทางหนีไฟไม่เห็น มันก็เป็นผลมาจากความเห็นแก่ได้ของเจ้าของ เจ้าหน้าที่นี่เห็นแต่รับเงินก็เลยไม่เห็น ไอ้คนออกแบบก็ออกแบตามที่เจ้าของเขาอยากได้ เพราะฉะนั้นมันก็เลยมีปัญหาขึ้นมา

ในต่างประเทศเขามีประมวลกฎหมายการก่อสร้าง(Building Code) แต่ประเทศไทยยังไม่มีพี่ยงยุทธคิดว่าประเทศไทยควรจะมีประมวลกฎหมายการก่อสร้างเหมือนกับต่างประเทศหรือเปล่าครับ

เราก็ควรมีควรทำต้องทำเดี๋ยวนี้เลยเพราะสิ่งเหล่านี้มันเปิดช่องให้ข้าราชการคอรัปชั่น กฎหมายมันไม่ชัดเจน กฎหมายมันคลุมเครือ เกิดช่องว่างให้ทุจริตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เราก็ไม่แก้ไขเพราะกฎหมายมันไม่ทันสมัยหลายเรื่อง คือยกตัวอย่างง่ายๆ ทาวน์เฮาส์ต้องมีที่ว่างด้านหลังจรดต่อเนื่องกันเวลาเรา Design แต่สุดท้ายนะเจ้าของมาต่อเติมกันเต็มไปหมด

คืออย่างอาคารที่ก่อสร้างหรือต่อเติมผิดกฎหมายนี่ทางภาครัฐเขาไม่มีการมาตรวจสอบเลยหรือครับ

ถ้าต่อเติมแบบผิดกฎหมายนะต้องลงโทษให้หนักไม่เช่นนั้นนะ เจ้าหน้าที่เขตก็รับตังค์จากเจ้าของไปแล้วพอเปลี่ยนใหม่ก็มาไถกันใหม่ มันต้องลงโทษหนักถึงขั้นทุบอาคารเลยทุบแต่ส่วนที่ผิดก็ได้ถ้าไปโดนอาคารตรงอื่นก็รัฐก็ไม่ต้องมาใช้จ่ายให้เพราะถือว่าทำผิดไง เราปล่อยๆกันไปเรื่อย

มันเป็นกันแบบนี้จึงทำให้ประเทศไทยไม่ค่อยพัฒนาใช่มั้ยครับ

ใช่ เราไม่แข็งในเรื่องกฎหมาย ที่อื่นเขาไม่ได้เลย คือไม่ว่าเป็นงานออกแบบชนิดไหนสถาปนิกก็ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง ม่งั้นเดี๋ยวก็ทำอะไรกันเปลอะไปหมด อย่างบ้านที่อยู่อาศัยก็ต้องให้สถาปนิกออกแบบไม่ใช่ให้ใครทำก็ได้ คนอยู่อยู่ผิดหลักวิชาการ ผิดที่ผิดทางมันก็อยู่ไม่ได้

มีอะไรแนะนำรุ่นน้องที่เพิ่งจบใหม่เรื่องการหางานบ้างมั้ยครับ

จำไว้เลยนะเราไม่มีโอกาสตกงานหรอก มันเป็นข้ออ้าง เพราะเลือกงานเลยไม่มีงานทำ เลือกงานเพราะอะไร? เงินเดือนน้อย? น้อยก็น้อยสิดีกว่าไม่มี เราจบใหม่จะมีค่าใช้จ่ายอะไรครอบครัวยังไม่มีเลย อยู่บ้านก็อยู่กับพ่อกับแม่ มันอยู่ที่ความสามารถเราตรงนี้ อย่าไปคิดว่า เราต้องอยู่ OFFICE ใหญ่ เงินเดือนเท่านี้ อย่างนั้นอย่างนี้ เด็กรุ่นใหม่มันก็มีมาถามๆ ทางนี้เราก็บอกว่าไม่คุยแล้ว ไม่สู้นี่ ไม่สู้งาน


อยากพูดถึงเกี่ยวกับสิ่งที่อยากฝากให้สถาปนิกรุ่นน้องที่กำลังจะเป็นสถาปนิกในอณาคต

ก็ต้องรู้จักทำการค้นคว้า การค้นคว้าทำให้เรารู้อะไรที่เราไม่รู้ ส่วนมากนี่ปัญหาคือสถาปนิกไม่ค่อยค้นคว้า ไปออกดูในโลกกว้างด้วยว่าเขาทำยังไงเขาไปถึงไหน แล้วก็อย่าหลอกตัวเองคิดว่าตัวเองทำได้ดีที่สุดแล้ว คือศึกษางานที่เขาพัฒนาไปเพื่อก้าวไปให้ทันโลก ไม่ว่าในเรื่องแง่ต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องโครงสร้าง ในเรื่องวัสดุ แล้วอีกอย่างหนึ่งคือให้อยู่ในความเป็นจริงอย่าไปออกแบบหรือทำงานที่หวังจะ….พูดตรงๆว่าหลอกลูกค้า แล้วอาคารก็จะเป็นขยะ ขยะเมืองอ่ะ ตรงนี้ต้องใส่ใจ อย่าลืมว่าอายุอาคารน่ะเมื่อก่อนเขาตีไว้ 50 ปีเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เขาตีอายุเป็น 100 ปี เพราะฉะนั้นบางทีเราต้องคิดว่าอาคารที่อยู่ 100 ปีเราต้องให้ความสำคัญมันยังไง บางทีเราต้องคิดในแง่ที่ว่า 100 ปีถ้ามันเกิดมีวิวัฒนาการอะไรใหม่ขึ้นมาก็ต้องแก้ไขได้ อีกเรื่องก็คือว่า มันก็ยังต้องทันสมัยอยู่ ไม่ใช่เหมือนเป็นแฟชั่น 1 ปีมันก็ตกยุคไปมันก็จะกลายเป็นขยะ





ปิดฉากการสัมภาษณ์ที่ดุเดือดด้วยการถ่ายรูปคู่และบอกลากลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

ขอบคุณ พี่ยงยุทธ ที่สละเวลามาให้สัมภาษณ์
ขอบคุณพี่หวานที่ช่วยแนะนำ