วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ร่างประมวลข้อบังคับอาคาร (Building Code) สำหรับประเทศไทย

ความหมายของ Building Code
หากพิจารณาความหมายของ “Building Code” จะพบว่าเป็นการรวม 2 คำเข้าด้วยกัน คำแรก คือ “Building” หรือแปลเป็นไทยได้ว่า “อาคาร” ไว้อย่างชัดเจนว่า หมายถึงตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งก่อสร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลเข้าอยู่ หรือ ใช้สอยได้ รวมถึงโครงสร้างอื่น เช่น เขื่อน สะพาน หรือ ป้าย เป็นต้น สำหรับคำหลังหรือ “Code” นั้นตามพจนานุกรมแปลได้ว่า “ประมวล หรือหนังสือที่รวบรวมสิ่งซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน ”
ดังนั้น ความหมายของ Buildind Code จึงน่าจะเทียบเคียงได้กับการรวบรวมข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์ มีเนื้อหาเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวกต่อการปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับคำนิยามของ Building Code ฉบับนานาชาติของเวบสเตอร์ที่หมายถึง ข้อบังคับของการดำเนินการและมาตรฐานของวัสดุที่สำคัญสำหรับผู้ใช้ในการก่อสร้างอาคารที่ได้ รวบรวมขึ้นเพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกัน และ สร้างความปลอดภัยผาสุกให้แก่สาธารณะป็นสัญโดยปกติหน่วยงานของรัฐเป็นผู้บัญญัติ Building Code เพื่อให้มีผลบังคับตามกฎหมาย
ซึ่งสำหรับประเทศไทยใช้คำว่า “ประมวลข้อบังคับอาคาร” ซึ่งหมายถึง ข้อบังคับด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่จัดทำและรวบรวมขึ้นอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เป็นมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับควบคุมให้การออกแบบ การก่อสร้าง และการใช้งานอาคารมีความปลอดภัย ถูกสุขอนามัย และก่อให้เกิดสวัสดิภาพแก่ผู้ใช้อาคารและสาธารณชน ซึ่งการจัดทำประมวลข้อบังคับอาคารจะเป็นการสอดรับกับระบบควบคุมอาคาร

ประมวลข้อบังคับอาคาร Building Code ฉบับแรกของโลก
ถ้าย้อนกลับไปถึงการเริ่มออกข้อบังคับอาคาร Building Code ฉบับแรกนั้น มีการบังคับใช้กันมากว่า 1,700 ปี ก่อนสมันคลิสตกาลมาแล้ว ในสมัยกษัตริย์ ฮัมมูราบี แห่งเมโสโปเตเมีย ซึ่งประกอบด้วยข้อบัญญัติและบทลงโทษ จำนวน 282 ข้อ ซึ่งมีไว้เพื่อควบคุมดุแลความสงบเรียบร้อย และภายในข้อบังคับนี้ ยังมีการบัญญัติในเรื่องของบทลงโทษในส่วนของการก่อสร้างอาคาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัย จึงอาจถือได้ว่า ข้อบังคับ ฮัมมูราบี เป็น Building Code ฉบับแรกของโลกก็ว่าได้

ความเหมือนที่แตกต่างของ Building Code และมาตรฐาน (Standard)
Building Code และมาตรฐาน (Standard) มีความใกล้ชิดกันมากจนชนิดที่ว่าแทบจะแยกไม่ออก ดังที่กล่อางมาข้างต้นว่า Building Code เป้นข้อบังคับที่ผู้เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง และใช้อาคารจะยึดถือปฎิบัติ เพื่อการออกแบบและก่อสร้างที่มีความปลอดภัย โดยหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้บัญัติขึ้นมาเพื่อให้มีผลบังคับตามกฎหมาย ส่วนมาตรฐาน(Standard) นั้นสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้ให้ความหมายไว้อย่างชัดเจนว่า “เป็นเอกสารที่ได้จัดทำขึ้นจากการเห็ยพ้องต้องกันและได้รับความเห็นชอบจากองค์กรอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เอกสารดังกล่าวจะวางระเบียบแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติวิสัยเพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยแก่สาธารณะ”

Building Code ของประเทศไทย
หากพิจารณาตามความหมายและข้อบังคับแล้ว สิ่งที่ใกล้เคีงกับ Building Code มากที่สุดในขณะนี้คือ กฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รวมถึงกฎกรทรวงหรือประกาศที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างที่ออกตามความใน พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 เป็นต้น
กรมโยธาธิการและผังเมืองซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการออกกฎข้อบังคับต่างๆในการก่อสร้างไดเล็งเห็นถึงความสำคัญของ Building Code และเห็นว่าเป็นมาตรการหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการ่อสร้างได้ จึงมีการเสนอให้จัดทำ Building Code และได้ตั้งชื่อ Building Code เบื้องต้นว่า
“ประมวลข้อบังคับอาคาร”
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการที่จะทำเนื้อหาของประมวลข้อบังคับอาคารให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนจับเป็นต้องอาศัยมาตรฐานในการก่อสร้างเป็นจำนวนมากแต่ประเทศไทยยังขาดแคลนมาตรฐานดังกล่าวอยู่ ดังนั้น กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จัดทำมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมืองขึ้น โดยได้นำมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง(เดิม) มาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับปัจจุบันและมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ ประมลข้อบังคับอาคารมีเนื้อหาสมบูรณ์

ซึ่งในปัจจุบันได้มีร่างประมวลข้อบังคับอาคาร ออกมาให้เห็นกันบางส่วนแล้ว และยังมีการทำประชาพิจารย์ในโครงการย่อยอื่นๆอยู่ ซึ่ง จะต้องใช้เวลาการทำประชาพิจาร และเสนอความเห็น กันอีกเป็นปี ดังนั้นจึงขอนำมาเผยแพร่ ในส่วนของโครงการย่อย ที่เผยแพร่สู่สาธารณะชนแล้ว มีดังต่อไปนี้

อ้างอิง
http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=1C295D1AC3D4[9H5RNJ[O8SWWG2MGP


โครงการพัฒนาปรับปรุงและจัดทำประมวลข้อบังคับอาคารของประเทศไทย (Building Code) ฉบับที่ 2 เรื่อง ด้านน้ำหนักบรรทุกที่กระทำต่ออาคาร

วัตถุประสงค์
1.1 เนื้อหาในส่วนนี้เกี่ยวข้องกับขนาดของน้ำหนักบรรทุกขั้นต่ำที่ใช้ในการคำนวณออกแบบอาคารและส่วนประกอบต่างๆ ของอาคาร ได้แก่ การรวมน้ำหนักบรรทุก น้ำหนักบรรทุกคงที่ น้ำหนักบรรทุกจรแรงกระแทก การปรับลดค่าน้ำหนักบรรทุกจร แรงเนื่องจากสภาพแวดล้อมอันได้แก่แรงแผ่นดินไหวและแรงดันดินด้านข้าง และแรงประเภทอื่นๆ ที่กระทำต่ออาคาร
1.2 เมื่ออาคารและส่วนประกอบต่างๆ ของอาคารต้องรับแรงประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากที่แสดงไว้ในส่วนนี้ ผู้คำนวณออกแบบต้องเป็นผู้รับผิดชอบจัดหาข้อมูล หรือกำหนดวิธีการคำนวณแรงดังกล่าวโดยข้อมูล รวมทั้งวิธีการที่ใช้ ต้องมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
1.3 อาคารและส่วนประกอบต่างๆ ของอาคารย่อมต้องมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักบรรทุกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีส่วนใดของอาคารได้รับความเสียหาย หรือเกินกำลังตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับด้านวิศวกรรม

รายละเอียด

การรวมน้ำหนักบรรทุก บอกถึงวิธีการรวมน้ำหนักบรรทุกซึ่งมีอยู่ 2วิธีคือ
-วิธีคูณความต้านทานและน้ำหนัก
-วิธีหน่วยแรงใช้งาน
น้ำหนักบรรทุกคงที่ บอกถึงวิธีการคำนวณน้ำหนักบรรทุกคงที่
น้ำหนักบรรทุกจร บอกถึงวิธีการคำนวณและการกำหนดน้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ
แรงลม บอกถึงวิธีการคำนวณแรงลมที่มีผลต่ออาคาร
แรงแผ่นดินไหว บอกวิธีการคำนวณแรงแผ่นดินไหวและแนวทางการออกแบบ
- ความแข็งแรงและความเหนียวของอาคาร
-แผ่นดินไหวสำหรับการออกแบบอาคาร
- วิธีการออกแบบ
แรงดันดินด้านข้าง อธิบายการคำนวณแรงดันด้านข้าง
แรงจากของเหลว บอกถึงวิธีการคำนวณแรงดันจากของเหลว
แรงจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ บอกถึงวิธีการคำนวณแรงจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

อ้างอิง
http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=1C295D0295BNP7RV9IDPFV8[3R82W3

โครงการพัฒนาปรับปรุงและจัดทำประมวลข้อบังคับอาคารของประเทศไทย(BuildingCode) ฉบับที่ 4 เรื่อง ข้อบังคับคุณสมบัติด้านอัคคีภัยของวัสดุ และผลิตภัณฑ์

วัตถุประสงค์
ประมวลข้อบังคับอาคารนี้จัดทำเพื่อให้ข้อบังคับและมาตรฐานที่เกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติด้านอัคคีภัยของวัสดุและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้านการออกแบบ ติดตั้ง การทดสอบ สามารถเลือกใช้วัสดุในงานก่อสร้างและการใช้อาคารทุกประเภทและทุกพื้นที่ในประเทศให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

รายละเอียด

หมวดที่ 1 ข้อกำหนดคุณสมบัติด้านอัคคีภัยของวัสดุและผลิตภัณฑ์ด้านการลุกไหม้ การทนไฟการลามไฟ
- การควบคุมการใช้งานวัสดุภายในอาคาร
- การออกแบบติดตั้งชิ้นส่วนโครงสร้างและส่วนประกอบอาคารทนไฟ
- การออกแบบติดตั้งวัสดุและอุปกรณ์ป้องกันการลามไฟ

หมวดที่ 2
ข้อกำหนดคุณสมบัติด้านอัคคีภัยของวัสดุและผลิตภัณฑ์ ด้านระบบประกอบอาคาร
- การออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ระบบประกอบอาคาร – เส้นทางหนีไฟ
- การออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ระบบดับเพลิง
- การออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
- การออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ระบบควบคุมควัน

อ้างอิง
http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=1C295D02C52RPYYH2GZO1QPR91NW3X"

โครงการพัฒนาปรับปรุงและจัดทำประมวลข้อบังคับอาคารของประเทศไทย(BuildingCode) ฉบับที่ 5 เรื่อง ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ

วัตถุประสงค์
ประมวลข้อบังคับฉบับนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นมาตรฐานในการออกแบบและการก่อสร้างส่วนต่างๆของอาคาร

รายละเอียด
ร่างประมวลข้อบังคับฉบับนี้จะแบ่งออกเป็นฉบับย่อยๆได้ดังนี้
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (แบบหล่องานคอนกรีต - Formwork for Concrete)
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (มาตรฐานเสาเข็มเจาะ)
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (มาตรฐานลิฟต์ชั่วคราวในงานก่อสร้าง)
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ประกอบของอาคาร)
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (มาตรฐานงานรื้อถอนทางวิศวกรรม)
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (มาตรฐานความปลอดภัยขณะก่อสร้าง)
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (มาตรฐานการป้องกันอาคารข้างเคียงจากการตอกเสาเข็ม)
- ร่างประมวลข้อบังคับอาคารด้านการปฏิบัติการหลังการออกแบบ (มาตรฐานการประเมินกำลังสำหรับอาคารคอนกรีตเสริม
เหล็ก)

อ้างอิง
http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=1C295D03B757IXIOYEJU29LKSN[GSX

โครงการ พัฒนาปรับปรุงและจัดทำประมวลข้อบังคับอาคารของประเทศไทย (Building Code) ฉบับที่ 6 เรื่อง ข้อบังคับในการก่อสร้างอาคารที่มีลักษณะ พิเศษและบ้านพักอาศัย

วัตถุประสงค์


เนื่องจากอาคารบ้านพักอาศัย เป็นอาคารทั่วไป ที่ประชาชนสามารถใช้ความรู้ความสามารถและทักษะทางช่างในการก่อสร้างได้ โดยที่อาคารไม่เข้าข่ายวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินความมั่นคงแข็งแรง สุขอนามัยและ
สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยจากอัคคีภัย จึงต้องมีการกำหนดมาตรฐานองค์ประกอบอาคาร
การก่อสร้างและวัสดุอาคาร เพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายควบคุมอาคาร
โดยมาตรฐานขั้นต่ำที่คุ้มค่า ประหยัด ไม่เป็นภาระแก่เจ้าของอาคารเกินความจำเป็นในลักษณะ
ที่ใช้บังคับกับอาคารขนาดใหญ่

รายละเอียด
ร่างประมวลข้อบังคับฉบับนี้จะแบ่งออกเป็น2ฉบับได้ดังนี้

ร่างประมวลข้อบังคับเกี่ยวกับบ้านพักอาศัย
1.ข้อกำหนด การอนุญาตอาคารบ้านพักอาศัย
2.ข้อกำหนดการขออนุญาติอาคารบ้านพักอาศัย
3.ข้อกำหนดแผนการก่อสร้างอาคาร
4.ข้อกำหนดเกี่ยวกับงานและวัสดุโครงสร้าง
5.ข้อกำหนดองคประกอบอาคารบ้านพักอาศัย
6.ข้อกำหนดระบบท่อและสุขาภิบาล
7.ข้อกำหนดระบบเครื่องกล (ปรับอากาศ)
8. ข้อกำหนดระบบไฟฟ้า

ร่างประมวลข้อบังคับเกี่ยวกับอาคารลักษณะพิเศษ
1.โครงสร้างแผ่นบาง
2.โครงสร้างที่ใช้เคเบิล
3.การก่อสร้างหอหรือโครงถักสูง
4.โครงสร้างชั่วคราว
5.โครงสร้างชายฝั่งทะเล
6.โครงสร้างคอนกรีตอัดแรง
7.ป้าย
8.โรงมหรสพ
9.ทางเดินเชื่อมระหว่างอาคาร
10.สระว่ายน้ำ
11.การก่อสร้างอาคารลักษณะพิเศษที่ไม่ได้ระบุไว้ในประมวลข้อบังคับอาคาร

อ้างอิง
http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=1C295D14E596S3YWQ3AUZRCRI7N53O

โครงการ พัฒนาปรับปรุงและจัดทำประมวลข้อบังคับอาคารของประเทศไทย (Building Code) ฉบับที่ 7 เรื่อง ข้อบังคับเกี่ยวกับการออกแบบตามสมรรถนะ

วัตถุประสงค์

ประมวลข้อบังคับการออกแบบอาคารของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นข้อบังคับลักษณะการดำเนินการ (Prescriptive) ซึ่งได้กำหนดวิธีการดำเนินการในแต่ละปัญหา และรายละเอียด เพื่อความสะดวกในการออกแบบ ตรวจสอบ และกำกับดูแล อย่างไรก็ดีประมวลข้อบังคับดังกล่าวไม่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และวัสดุสำหรับการก่อสร้างอาคาร หรือกาคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ในปัจจุบันมีประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาออสเตรเลียแคนาดา อังกฤษ และนิวซีแลนด์ได้ปรับเปลี่ยนข้อกำหนดจากเดิมในลักษณะการดำเนินการ มาเป็นข้อกำหนดตามสมรรถนะ ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่เน้นผลลัพธ์ปลายทาง เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของผู้ใช้อาคาร หรือผู้อยู่อาศัย โดยเน้นความปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สิน ความสะดวกสบาย มีสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ดีและประหยัดพลังงาน ซึ่งมีแนวโน้มว่าประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาหลายประเทศกำลังปรับเปลี่ยนข้อบังคับการออกแบบอาคารมาเป็นลักษณะการออกแบบตามสมรรถนะ

รายละเอียด

ประมวลข้อบังคับอาคารตามสมรรถนะในต่างประเทศ
- ประเทศอังกฤษ
- ประเทศออสเตรเลีย
- ประเทศแคนาดา
องค์ประกอบของประมวลข้อบังคับการออกแบบอาคารตามสมรรถนะ
- โครงสร้างของประมวลข้อบังคับอาคารตามสมรรถนะ
- การตรวจประเมินสมรรถนะของวัสดุและผลิตภัณฑ์
ทิศทางของประมวลข้อบังคับการออกแบบในประเทศไทย
- รูปแบบข้อบังคับ
- เกณฑ์การจัดการทั่วไป
- การเปรียบเทียบประมวลข้อบังคับอาคารปัจจุบันและประมวลข้อบังคับอาคารตาม
สมรรถนะ
- ผลของการเปลี่ยนเป็นประมวลข้อบังคับอาคารตามสมรรถนะและมาตรการรองรับ

อ้างอิง
http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=1C295D152FXI1RGIKWHTN9ZK9AVCCN