วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทริป “เก้าวันสี่พันรูป”วันที่ ๒


วันที่ ๒ (25/07/2553)


วันนี้ตื่นขึ้นมาด้วยความงัวเงียอ่อนล้าอ่อนเพลียเพราะเมื่อคืนนั่งเล่นบวกเลขถึงตี๒ ผมเข้าห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย ลงมากินข้าวซอยแบบง่วงๆและเดินขึ้นรถไปอย่างหน้าตาโง่ๆขึ้นรถมาก็หลับยาวจนถึงจุดที่ อ.จิ๋ว จะพาไปจุดแรก

วัดไหล่หิน
            approach ทางเข้าวัดจะต้องกับทางเข้าโบสถ์ที่อยู่ด้านหน้าทำให้มองเห็นสถาปัตยกรรมสมัยโบราณอายุเป็นร้อยๆปีของวัด ตั้งแต่ซุ้มประตูจนไปถึงตัววิหารนำสายตาพุ่งเข้าตัววิหารไป หลังคาเป็นทรงจั่วทิ้งชายคายาวตามแบบสถาปัตยกรรมภาคเหนือเพราะสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นจึงไม่ต้องการให้ลมผ่านเข้ามามากเกินไป และ ซ้อนชั้นไปอีก๔ชั้น ส่วนกำแพงส่วนด้านนอกได้สร้างขึ้นมาใหม่ทำให้เห็นถึง ความเก่าและ ความใหม่ ของสิ่งก่อสร้างได้อย่างชัดเจน แต่ด้วยความใหม่ของกำแพงรอบโบสถ์และตัววิหารโดยรอบทำให้เรายังคงเห็นความเก่า ได้อย่างเด่นชัดซึ่งตัววิหารและซุ้มประตูได้รับอิทธิพลมาจากช่างที่เชียงตุง ส่วนเจดีย์เป็นแบบล้านนาซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ซุ้มประตูมีความเก่าแก่แต่วิจิตร ซึ่งเป็นการก่อสร้างแบบถือปูนทั้งซุ้ม มีการแกะสลักและปั้นปูนอย่างสวยงาม อย่างมาก เดินผ่านซุ้มปรตูด้วยการมุดเข้าไปเพราะประตูมันค่อนข้างเตี้ยมาก พอไปเห็นตัว วิหาร ก็พบว่ามันก็เล็กกว่าที่คิดซะอีกยังคิดอยู่เลยว่ามันผิดเสกลหรือเปล่า เล็กกว่าวิหารหรือโบสถ์ของวัดสมัยนี้มาก หรือว่า คนสมัยก่อนตัวเล็ก ด้านซ้ายของวิหารก็จะเป็นศาลา ถัดจากตัววิหารไปด้านหลังก็จะเป็นเจดีย์ทรงล้านนาซึ่งสร้างขึ้นมาใหม่โดยมีระเบียงคตล้อมรอบสร้างพื้นที่ปิดล้อมรอบบริเวณวิหาร 

ด้านข้างวิหาร มีโรงธรรมอายุกว่า 300 ปี เป็นโรงไม้เก่าๆ ซึ่งเสกลของอาคารก็ไม่ต่างจากตัววิหารเท่าไหร่ และยังมี พิพิธภัณฑ์ไหล่หินหลวงที่สร้างขึ้นใหม่อยู่ด้านข้างอีกด้วย เป็นอาคารที่มีเสกลใหญ่กว่าตัววิหารซึ่งส่วนมากอาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่จะมี เสกลที่ไม่สอดคล้องกับตัววิหารเลยอาจจะเอาไว้รองรับคนทีละมากๆก็ได้หรือว่า คนสมัยก่อนมีจำนวนน้อยกว่าคนสมัยนี้คิดไปคิดมามันอาจจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า คนน้อยหรือคนเยอะก็ได้สมัยก่อนวัดเป็นศูนย์รวมคนในชุมชนแล้วสมัยนี้ล่ะ? ห้างแหล่งบันเทิงกลายเป็นศูนย์รวมคนในชุมชนไปแล้ว คนวัดบ่อยแค่ไหน? เยอะแค่ไหน? มันอาจจะไม่ได้อยู่ที่เสกลของคนหรือจำนวนคนมันอาจจะอยู่ที่ความพอเพียงทางสถาปัตยกรรมมากกว่า






วัดพระธาตุลำปางหลวง
                คณะทัวร์ได้หยุดพักกินข้าวกันที่บริเวณฝั่งตรงข้ามวัด ซึ่งถ้ามองจากด้านนอกนั้นจะเห็นความอลังการและยิ่งใหญ่ของวัด โดย approach ทางเข้าจะเป็นบันไดสูงนำสายตาไปสู่ซุ้มประตูโขงซึ่งดูแล้วให้ความรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่และวิจิตรงดงาม เมื่อกินมื้อเที่ยงเสร็จเรียบร้อย คณะทัวร์ก็เข้าไปในตัววัดกันซึ่งบริเวณของวัดนั้นล้อมรอบไปด้วยกำแพงอิฐที่หนาและใหญ่ซึ่งจริงๆแล้วมันก็คือระเบียงคต เมื่อเข้าไปจะพบกับลานศิลาแลงซึ่งรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม พระสังกัจจายและพระพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อก่อนนั้นจะเป็นลานทราย อาจารย์จิ๋วบอกว่า เมื่อก่อนนี้ตรงนี้เป็นลานทราย พอมาทำเป็นศาลาก็เสียหมดมันไม่สอดกับตัวศาลเจ้าและแลนด์เสคป อ.จิ๋วบอกว่าฝีมือยังไม่ถึงเมื่อเดินผ่านมาก็จะมาถึงลานทราย ซึ่งเป็นลานโพธิ์ มีการเล่นกับแลนด์เสคปคือใช้ต้นตาล ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีความสูง มาคอนทราส กับต้นโพธิ์ที่มีฟอร์มเป็นพุ่มเมื่อเดินผ่านลานโพธิ์เข้ามาก็จะเข้าสู่ตัววัด

 
ซุ้มประตูนั้นจะมีระนาบมากั้นทั้งสองข้างนำสายตาไปสู่ลานโล่งและเป็น approach ไปสู่ตัววิหารโดยจะมองเห็นผนัง ของตัววิหารพระพุทธก่อนซึ่งเป็นผนังทึบ ทำให้เหมือนบังคับให้เราเดินไปสู่วิหารหลวงก่อน
ตัววัดจะประกอบไปด้วย วิหารต่างๆ และ เจดีย์ทรงล้านนา ซึ่ง มีขนาดที่ใหญ่มาก ไม่เหมือนกับวัดไหล่หินที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก  ตัววิหารเป็นหลังคาจั่ว ทรงวิหารโล่ง แบบล้านนา วัสดุที่ใช้เป็นไม้ทั้งหมด โครงสร้างเสานั้นเป็นเสากลมคู่ มีการเขียนลวดลายแระดับตกแต่งด้วยสีทองและสีดำ ตัววิหารทาสด้วยสีแดง มีความโอ่งโถงและดูยิ่งใหญ่ ตัววิหารเปิดโล่งมีกำแพงทำจากไม้ปิดห้อยลงมาจากหลังคาเล็กน้อย และมีการเขียนภาพชาดกไว้บนกำแพง การที่ทำวิหารเปิดโล่งแบบนี้เป็นการเชื่อม space กันระหว่างลานโล่งและตัววิหาร และ วิหารคต ที่สอดแทรก space และนำสายตาเราไปยัง space ต่างๆ โดยไม่ต้องมีการบอกทิศทาง ซึ่งเป็น space ปิดล้อมที่มีการเชื่อม space ภายในได้อย่างแนบเนียนซึ่งระหว่างที่เดินเข้ามาในวัดที่ลานโพธิ์นั้นจะมีไม้ขาวๆวางไว้ค้ำต้นโพธิ์จำนวนมาก และ มีผ้าสีมากผูกที่ต้นโพธ์ไว้แสดงถึงความเชื่อและวิถีชีวิตของชุมชนตั้งแต่สมัยราณที่ยังคงมีความผูกพันธ์กับวัดอยู่





 
พระธาตุเจดีย์จะสะท้อนให้เห็นึงความศรัทธาในศาสนาของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่าตัวพระธาตุจะมีการปิดทองประดับตกแต่งอย่างสวยงามด้วยแรงศรัทธาของชาวบ้านอย่างเห็นได้ชัด




วัดปงยางคก
                ก่อนที่จะเดินเข้าวัด อ.จิ๋วพาไปดูลานต้นโพธิ์ที่อยู่ข้างวัดก่อน ซึ่งลานต้นโพธิ์นี้มีไม้ค้ำต้นโพธิ์อยู่มากมายบางอันมีการประดับตกแต่งลวดลายสวยงาม ซึ่งเป็นความเชื่อเพื่อต่ออายุและสืบทอดพระพุทธศาสนา เมื่อมองดูแล้วมันเหมือนกับการเล่นเส้นสายในทางวีชวลดีไซน์ระหว่างเส้นใหญ่(ต้นโพธิ์) และเส้นเฉียงเล็ก(ไม้ค้ำ) เหมือนกับการเอาความเชื่อมาปนกับศิลปะไปโดยอปริยาย


เมื่อเข้าไปถึงวัดปงยางคกจะพบกับวิหารเจ้าแม่จามเทวีซึ่งเป็นวิหารเก่าแก่กว่า๓๐๐ปี และมีวิหารที่สร้างใหม่อยู่ทางซ้าย ซึ่งเมื่อเทียบเสกลดูแล้วจะพบว่า ของเก่า นั้น เล็กกว่าของใหม่อีกแล้ว เหมือนที่ได้เห็นที่วัดไหล่หิน ตัววิหารเจ้าแม่จามเทวีนั้น ทำด้วยไม้ทั้งหลังยกเว้นกระเบื้องหลังคาซึ่งไม่ตีฝ้าแสดงถึง texture ของตัวกระเบื้อง และมีการประดับตกแต่งลวดลายตั้งแต่ กลอน แปลาน ผนังส่วนบน อย่างวิจิตรงดงาม แต่เมื่อลงมาถึงผนังที่ห้อยลงมาใต้หลังคาก็ลดการประดับตกแต่งลงเรื่อยๆ จะมาถึงช่วงล่าง ซึ่งไม่มีกำแพงปิดทำเกิด special form รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นเชื่อมต่อ space จากภายนอก flow เข้ามาถึงข้าง space ภายใน 

 
หมู่บ้านเกาะคาน
                หลังจากที่ถ่ายรูปที่วัดปงยางคกเสร็จก็นั่งรถมาเรื่อยๆจนมาถึงหมู่บ้านเกาะคานอยู่ดีๆก็มีเสียงตะโกน อ้าวลงๆ ไปถ่ายรูปซึ่งในวันนี้ก็แวะถ่ายรูปบ้าน ๔-๕ หลัง
ลักษณะบ้านที่คณะทัวร์ได้แวะลงไปถ่ายรูปนั้นทุกหลังจะเป็นบ้านไม้ส่วนใหญ่มุงหลังคาด้วยกระเบื้องจะเป็นบ้านไทยพื้นถิ่นที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก แต่ยกพื้นบ้านสูงเหมือนบ้านไทยพื้นถิ่นมี space ใต้ถุนบ้านเอาไว้นั่งเล่น บางบ้านก็จะมีการเลี้ยงหมูหรือปลูกผักสวนครัวในบริเวณบ้านด้วยโดยบ้านบางหลัง space ใต้ถุนบ้านจะเชื่อมต่อกับ space ภายในบ้านด้วยบันไดลับซึ่งขึ้นจากใต้ถุนไปถึงห้องนั่งเล่นในบ้านเลย Landscape รอบๆบ้านก็จะเป็นการปลูกพืชสวนครัวส่วนใหม่ บางหลังมีบ่อน้ำไว้ใช้เองในบริเวณบ้านด้วย ทางขึ้นบ้านนั้นจะขึ้นได้สองทาง คือ จากบันไดหลัก และ จากบันไดส่วน SERVICE ในกรณีที่บางหลังมีครัวอยู่บนบ้านโดย Space ของตัวบ้านนั้นจะไม่เน้นกั้นผนัง คือ จะกั้นผนังแค่เพียงเฉพาะห้องนอนเท่านั้นทำให้เกิดการ Flow ของ space ที่เชื่อมต่กันได้ทั่วทั้งบ้าน
                ในหมู่บ้านเกาะคานนั้นก็จะประกอบไปด้วยบ้านไทยพื้นถิ่นและบ้านสมัยใหม่ที่สรางขึ้นมาใหม่แทนหลังเดิม ซึ่งทำให้บ้านไทยพื้นถิ่นนั้นค่อยๆหมดลงไปเรื่อยๆภูมิปัญาและเอกลักษณทางสถาปัตยกรรมก็จะค่อยๆหมดไปและถูกแทนที่ด้วยคอนกรีตและความเจริญ แต่ มันก็ไม่ได้หมายความว่า บ้านพื้นถิ่นนั้นจะล้าสมัย หรือไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปซึ่งจริงๆแล้วความเจริญกับความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นถิ่นนั้นมันไปด้วยกันได้และสามารถสอดแทรกเข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ได้อย่างลงตัวแต่มันนขึ้นอยู่กับคนในพื้นที่หรือชุมชนนั้นๆจะเห็ยความสำคัญแค่ไหน
 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น