วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทริป “เก้าวันสี่พันรูป”วันที่ ๓

วันที่๓ (26/08/2553)

วันนี้ตื่นมาด้วยความง่วงอีกแล้วเพราะเมื่อคืนก็ได้นั่งถกประเด็นปัญหาทางคณิตศาสตร์กับเพื่อนๆจนดึกอีกแล้ววันนี้ อ. จิมมี่ บอกไว้ว่าให้ซื้อมือ้เที่ยงไปกินด้วยก็เลยเดินไปตลาดไปซื้อมื้อเที่ยงแล้วขากลับก็แวะกินข้าวมันไข่เป็นมื้อเช้า ขึ้นรถก็ตีตั๋วนอนจนถึงจุดแรกที่ต้องแวะตามเคย

วัดพระแก้วดอนเต้า และ วัดสุชาดาราม
วัดพระแก้วดอนเต้า มีวิหารหลวงที่เก่าแก่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกโดยทางภาคเหนือนั้นวัดจะไม่มีศาลาการเปรียญจะใช้วิหารในการทำพิธีกรรม และมีการซ้อนหลังคาหลายช้อน เมื่อซ้อนหลังคาแล้ว Plan ของวิหารก็จะขยายตามไปกับการซ้อนชั้นหลังคา การลดชั้นหลังคาของทางเหนือจะมีความพิเศษก็คือ ด้านหลังจะลดหลังคาลงน้อยกว่าด้านหน้า ๑ ชั้น เช่น ถ้าด้านหน้าลดหลังคา ๓ ชั้น ด้านหลังจะลด ๒ ชั้น และปั้นลมจะลึกเข้าไปหลังคากระเบื้องจะยื่นออกมา หน้าจั่วด้านหน้าจะประดับด้วยปูนปั้น ติดใต้ท้องแป หน้าจั่วด้านหลังจะไม่ประดับลวดลาย หลังคาจะเป็นหลังคาดัดโค้ง ช่อฟ้าเป็น ช่อฟ้าแบบสุโขทัย เสาด้านนอกจะเป็นสี่เหลี่มแต่ เสาด้านในเป็นเสากลม ผนังเป็นผนังทึบมีช่องเปิดก็จะเป็นซี่เล็กๆของลูกบวบ เพื่อรับแสงเข้ามาในตัววิหาร และ ได้ความprivate ไปในตัวด้วย ต่างจากวัด ปงยางคก และ วัดไหล่หิน ที่ไม่มีการตีผนังปิด และมีลายประดับตามโครงสร้างเหมือนกับวัด ปงยางคก มีการวางจังหวะของโครงสร้างที่ใช้รับหลังคาอย่างสวยงาม และมีภาพเขียนสี ชาดกเรื่งพระเวทสันดร Space ด้านในโอ่โถงและเปิดโล่งโดยไม่ตีฝ้าให้ความรู้สึกโล่งไม่อึดอัดสามารถรองรับคนได้มากส่วนทางด้านหลังก็จะเป็นเจดีย์ทรงล้านนา


วัดสุชาดาราม มีวิหารที่วิจิตรสวยงาม โดยมีหลังคาซ้อนชั้นเป็นยอดแหลมขึ้นไปและประดับตกแต่งด้วยลวดลายที่สวยงามโดยใช้ลวดลายเป็นสีทองตัวอาคารเป็นสีแดง หลังคามุงด้วยสังกะสี เป็นวิหารเปิดโล่ง เชื่อม space จะลาน Plaza โดยรอบ และ มีผนังปิดอยู่ด้านเดียว คือ ด้านที่พระประธานประดิษสถานอยู่ และเมื่อเดินไปทางซ้ายมือก็จะเห็น เจดีย์ขนาดใหญ่ทรงล้านนา
 
หมู่บ้านจ๋ง
                คณะทัวร์ได้แวะที่หมู่บ้านจ๋งแวะถ่ายรูปอยู่ ๒- หลัง โดยภาพรวมๆแล้ว การจัดแลนด์เสคปของบ้านนั้นจะมีลานบ้านขนาดใหญ่เพื่อเชื่มไปยัง อาคารอื่นๆบริเวณบ้าน เช่น ยุ้งข้าว ห้องน้ำ โรงเก็บฟืน สวนผัก โดยที่ตัวลานบ้านนั้นจะสอดแทรกการจัด landscape ของต้นไม้ไว้ตามจุดต่างๆ ซึ่งมีไม้ยืนต้นให้ร่มเงาแก่ลานบ้านและใช้เป็นที่นั่งพักผ่อนได้อีกด้วย ส่วนตัวบ้านนั้นบางหลังก็สร้างขึ้นใหม่ในลักษณะที่เป็นบ้านในสมัยนี้ แต่ยังคงมีความเป็นพื้นถิ่นอยู่บ้าง เช่น Space ของบันได การยกใต้ถุนสูง และหลังคาทรงจั่ว ซึ่งยังเป็นเอกลักษณ์พื้นถิ่นส่วนบ้านหลังอื่นๆก็เป็นแบบพื้นถิ่นซึ่งเป็นบ้านใต้ถุนสูงคล้ายๆกับบ้านที่ได้เห็นไปเมื่อวาน
วัดข่วงกอม

                คณะทัวร์ได้แวะพักกินมื้อเที่ยงที่วัดข่วงกอม วัดข่อมกอมเป็นวัดที่สร้างขึ้นมาใหม่แต่สืบทอดสไตล์ดั้งเดิมของล้านนา ซึ่งเป็นการผสมผสาน ระหว่าง งานสมัยใหม่กับงานประเพณีของล้านนา เป็นการฟื้นช่างโบราณหรือการก่อสร้างแบบล้านนาดั้งเดิมโดยใช้ไม้แต่ก็พยายามสอดแทรกวัสดุสมัยใหม่อยู่ด้วย แต่รูปลักษณ์ของล้านนายังเด่นชัดอยู่ รั้วหินของวิหารนั้น อ. จิ๋ว บอกว่าได้รับอิทธิพลมาจาก แฟรงค์ ลอยด์ไรท์ มีการผสมผสานคอนเซปสมัยใหม่ให้เข้ากับงานประเพณีล้านนา ในสัดส่วนที่งานประเพณีนั้นมากกว่า เลยทำให้ยังมองดูเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาที่ร่วมสมัย โครงสร้างหลักๆนั้นจะทำมาจากไม้ แต่ผนังจะเป็นก่ออิฐฉาบปูนปูด้วยกระเบื้องดินเผาและมีการเจาะช่องเปิดเป็นซี่ๆคล้ายๆกับวัดพระแก้วดอนเต้า ซึ่งวัสดุในการก่อสร้างนั้นจะเน้นใช้วัสดุจากธรรมชาติหรือวัสดุที่เลียนแบบธรรมชาติ รูปทรงทางสถาปัตยกรรมมีความคล้ายคลึงกับวัดพระแก้วดอนเต้าต่างแค่เพียงวัสดุที่เลือกใช้ รอบๆวิหารมีระเบียงคตที่ใช้โครงส้รางไม้เป็นหลักแต่พื้นเป็นคอนกรีตอยู่รอบๆวิหารหลังคามีลักษณะโค้งล้อกับตัววิหารและมีการปลูกต้นจั๋งบริเวณลานทรายรอบๆวิหารต้านหลังวิหารก็จะเป็นเจดีย์ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งวัดนี้ทางคณะทัวร์ไม่ได้เข้าไปถ่ายรูปด้านในเพราะมีผู้มาทำบุญเป็นจำนวนมากและฝนก็ตกด้วย โดยบริเวณวัดนั้นจะมีหมู่บ้านอยู่รอบๆวัด 
 
                ถัดจากตัววิหารไปทางซ้าย ก็จะเป็นศาลาการเปรียญเป็นศาลายกใต้ถุนสูงหลังคาโค้งแบบล้านนามีคันทวยแระดับที่เสาเช่นเดียวกับวัด โครงสร้างเป็นโครงส้รางไม้ผสมกับคอนกรีต โดยที่ใต้ถุนใช้เป็นห้องเก็บของ ห้องน้ำ และ ที่ล้างจาน มีการเจาะช่องเปิดเป็นซี่ไม้ บริเวณผนังด้านบนเพื่อระบายอากาศส่วนชั้นบนก็จะเป็นศาลาการเปรียญมีการใช้ระนาบทึบ บวกกับ ระนาบโปร่งโล่ง และกึ่งทึบกึ่งโปร่งได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้ไม่ดูทึบอึดอัดหรือไม่ดูโล่งมากจนเกินไป และมีการเล่นเส้นสายของซี่ไม้ที่เอามาทำเป็นผนัง หน้าต่าง ฟาสาด ได้อย่างงดงาม สอดคล้องกับเส้นสายของโครงสร้างหลังคาที่ไม่มีการตีฝ้า และเมื่อเดินผ่านศาลาไปก็จะเจอ กุฏิ เป็นกุฏิเรือนหมู่แบบล้านนาร่วมสมัยใช้โครงสร้างไม้ผสมกับคอนกรีต เมื่อเดินเข้าประตูไปจะพบกับลานPlaza ที่มีการปลูกต้นไม้ไว้ตรงกลาง แต่พระท่านไม่ได้ไปอยู่ เพราะบริเวณนั้นอยู่ที่หน้าวัดและบริเวณนั้นแต่เดิมเป็นที่เผาศพ เลยทำให้ทีตรงนั้นกลายเป็นศูนย์ชุมชนเผยแพร่ความรู้แก่ชาวบ้าน


 
                เมื่อเราเดินผ่านกุฏิและสศาลาการเปรียญไปด้านหลังก็จะพบกับลำเหมือง คือ ลำน้ำที่ชาวบ้านสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายน้ำไปตามท้องนาและเมื่อเดินผ่านทุ่งนาไปก็จะพบกับหมู่บ้าน ลักษณะของบ้านก็จะเป็นบ้านใต้ถุนสูงแบบบ้านไทยพื้นถิ่นทั่วๆไป แต่รั้วจะใช้เป็นการปลูกต้นไม้เป็นรั้วแทน เมื่อเข้าไปก็จะพบกับลานบ้าน ที่มี Landscape สอดแทรกอยู่ ตัวบ้านนั้นจะทำด้วยไม้หลังคามุงด้วยกระเบื้องในส่วนห้องครัวที่อยู่บนบ้านจะเจาะช่องระบายอากาศและผนังค่อนข้างจะโล่งไม่ปิดทึบ ด้วยการที่ผนังบ้านใช้ไม้เป็นแผ่นๆมาต่อกันทำให้เกิดการเล่นเส้นสายและระนาบของผนังบ้านอย่างไม่ได้ตั้งใจ
 
เมื่อเราเดินทางออกมาจากวัดข่วงกอมก็แวะลงไปถ่ายรูปลำเหมืองบริเวณทุ่งนาระหว่างทาง ซึ่งมีเถียงนาตั้งอยู่ด้วยได้บรรยากาศความสบายไปอีกแบบ




อุทยานแห่งชาติ แจ้ซ้อน
                อุทยานแห่งชาติ แจ้ซ้อนซึ่งมีบ่อน้ำพุร้อนอีกที่หนึ่งของประเทศไทย มีการจัดแลนด์เสคปที่สอดแทรกกันระหว่างบ่อน้ำหินธรรมชาติ ต้นไม้ และตัวอาคารได้อย่างสอดคล้องกัน โดยตัวอาคารก็ใช้วัสดุจากธรรมชาติทำให้ดูกลมกลืนกับบริบทของอุทยานไปด้วย เมื่อมาถึงที่อุทยาน คณะทัวร์ต่างก็พากันแยกย้ายไปเล่นน้ำ ไม่ว่าจะเป็นร้อนหรือน้ำเย็นก่อนจะกลับที่พัก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น