วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทริป “เก้าวันสี่พันรูป”วันที่๕

วันที่๕(28/07/2553)


เมื่อคืนหลับเป็นตายห้องที่นอนก็เล็กมากนอนเบียดๆกันคนหนึ่งต้องไปนอนกับพื้นไม่ค่อยประทับใจโรงแรมนี้เท่าไหร่เลย ตื่นมาตอน๗โมงทำธุระส่วนตัวลงไปหาอะไรกินและซื้อมื้อเที่ยงไปกินด้วย ขึ้นรถตีตั๋วนอนเหมือนเดิม….

สรีดภงค์
                ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ห่างไปประมาณ ๒.๓ กิโลเมตร บริเวณส่วนหนึ่งของเทือกเขาประทักษ์อันเป็นแหล่งอุดมด้วยพืชพรรณไม้ต่างๆ รวมทั้งพืชสมุนไพร และเป็นพื้นที่เปรียบเสมือนหลังคาที่สามารถกรองรับน้ำฝนได้อีกด้วย จากความชาญฉลาดของคนสุโขทัยในอดีตจึงรู้จักสร้างคันดินกั้นน้ำขนาดใหญ่ในระหว่างหุบเขากิ่วอ้ายมาถึงเขาพระบาทใหญ่อันเป็นที่รวมของน้ำจากโซกต่างๆตามบริเวณเขาถึง ๑๗ โซก เป็นคันดินสำหรับผันแปรทิศทางของน้ำ ที่เชื่อมกันมาแต่เดิมว่าคือ สรีดภงค์ ที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกที่๑ น้ำจาก สรีดภงค์จะถูกระบายไปตามคลองเสาหอ เพื่อเข้าไปใช้อุปโภคยริโภคภายในเมืองโดยระบายเข้าสู่เมืองตรงมุมตะวันตกเฉียงใต้ สรีดภงค์ในปัจจุบันได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยกรมชลประทานร่วมกันกับกรมศิลปากร ให้มีความสูงและแข็งแรงกว่าเดิมสำหรับใช้กักเก็บน้ำ มีความสูงประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๔๐๐ เมตร สมารถกักเก็บน้ำได้ถึง ๔๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร


 
วัดมังกร
                อยู่ทางทิศ ตะวันตกของกำแพงเมืองมีโบสถ์เป็นประธานผิดกับทางเหนือที่วิหารเป็นประธาน มีหลักฐานการใช้เซรามิคมาเป็นกำแพงแก้ว เจดีย์เป็นทรงลังกา แต่ไม่วางอยู่ด้านหลังวิหารจะวางอยู่ด้านข้างมีใบเสมาหินอยู่ ๒ ใบ เปรียบเสมือนการรวมนิกาย ๒ นิกายเข้าด้วยกันคือนิกายเดิม กับ นิกายที่มาจากทางลังกา ตัวสถาปัตยกรรมของวัดมังกรนั้นจะต่างจากที่ ลำปาง คือไม่ใช้ไม้แต่จะใช้อิฐมอญและศิลาแลง ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น และให้ความรู้สึกถึงความดิบของสัจจะวัสดุ แต่โครงสร้างจะใช้แบบเดียวกัน เปลี่ยนแค่วัสดุเท่านั้นโดยเสาจะเป็นพื้นและเสาศิลาแลงฉาบปูนปิด แต่ ผนังและกำแพงจะเป็นอิฐมอญโชว์แนว

วัดมหาธาตุ
                เป็นวัดประจำของพระมหากษัตริย์ มีวิหารหลวง มีเจดีย์อยู่ด้านหลัง เป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบินของสุโขทัย และมีบริวารอีก ๘ อัน โดยมีวิหารหลวงเชื่อมต่อกับเจดีย์ประธาน และมีวิหาร และเจดีย์กระจัดกระจายอยู่เต็มไปหมด กำแพงจะไม่สูงซึ่งทำให้เป็นเส้นสัมพันธ์กับเส้นพื้นดินเพื่อเชื่อมกับเส้นต้องของวิหารและเจดีย์ ทางเข้าจะเบี่ยงไปทางซ้ายมือนิดหน่อย โดยจะมีเจดีย์เบรกเอาไว้เพื่อให้เราหันหน้าไปทางขวานำสายตาสู่เจดีย์ประธาน
วัสดุที่ใช้ก็จะเป็นอิฐมอญและศิลาแลง เสาเป็นเสาสอบศิลาแลงฉาบปูนมีความสูงมากทำให้เกิดเส้นตั้งไปล้อกับตัวเจดีย์และองค์พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ การวางผังของตัววัดนั้น จะมีสระน้ำอยู่ทางด้านหน้า และจะวางตัววิหารหลวงอยู่ทางด้านหน้า แต่จะให้เลี่ยงไปเดินเข้าทางด้านซ้าย ฝั่งขวา จะเป็นวิหารหลวงและ เจดีย์ประทาน ส่วน วิหารอื่นๆและเจดีย์อื่นๆจะอยู่ฝั่งซ้าย ทางเดินจะปูด้วยอิฐมอญตั้งแต่ทางเข้าและยาวไปถึงประตูทางด้านหลัง โดยทางเดินอิฐนี้จะแยกเป็น ๒ ทางก็คือ ทางเดินที่จะออกไปสู่ประตูหลังซึ่งจะผ่านวิหารและเจดีย์ย่อย และทางไปสู่ตัววิหารหลัก ตัววิหารหลักยกจากพื้นค่อนข้างสูงทำให้มองเห็นได้จากระยะไกลและมีเจดีย์หลักเป็นแบคกราวอยู่ข้างหลังพระประธานทำให้รู้สึกถึงความยิ่งใหญ่อลังการ
                การบูรณะวัดมหาธาตุเป็นการอนุกรักษ์ของเก่าไว้ไม่ได้ทำให้สมบูรณ์ตามแบบสมัยโบราณเพียงแค่ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้คนจินตนาการเอาเองว่าสมัยก่อนนั้นตัววัดจะมีลักษณะอย่างไร คือยังคงคุณค่าของเก่าที่ยังหลงเหลืออยู่เน้นให้เห็นถึงคุณค่าความเก่าของโบราณสถานที่หลงเหลือไว้ให้คนรุ่นหลัง


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
                คณะทัวร์ได้แวะพักกินมื้อเที่ยงกันที่นี่ ซึ่งเป็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่อลังการงานสร้างมากเป็นกลุ่มอาคารทรงไทย โดยมี approach ทางเข้าเป็นซุ้มประตู เมื่อเข้ามาแล้จะเป็นลานโล่งก่อนที่จะขึ้นไปยังโถงทางเข้าโดยการวางผังก็จะเป็นการวางผังปิดล้อมพื้นที่แบบตัว C โดยวางตัวคารล้อมรอบคอร์ตรงกลาง อาคารส่วนด้านหน้านั้นจะเป็นศาลาพักคอยและโถงต้อนรับ อาคารส่วนด้านข้างจะเป็น พิพิธภัณฑ์และห้องน้ำ ส่วนด้านหลังจะเป็นเรือนหมู่ยกใต้ถุนสูง เป็นศาลาพักคอย และส่วนservice ที่ใต้ถุน โดยจะเชื่อม อาคารแต่ละกลุ่มด้วย coridor   พื้น ผนัง กำแพงภายนอกจะใช้เป็นอิฐมอญซึ่งบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของสุโขทัย ลักษณะสถาปัตยกรรมจะเป็นลักษณะของเรือนไทยภาคกลาง ลักษณะหลังคาที่ทิ้งลงมาจะป้านออก มีการเล่นเส้นนอนของราวระเบียงและกำแพงเพื่อเชื่อม mass ของตัวอาคารแต่ละหลังคล้ายๆกับที่วัดมหาธาตุ หลังกินมื้อเที่ยงเสร็จคณะทัวร์ก็ออกเดินทางสู่จุดหมายต่อไป

วัดพระพรายหลวง
                เป็นวัดที่มีปราสาทขอมซึ่คล้ายๆกับพระปรางค์อยู่ทางด้านหลัง วิหารหลวงซึ่งในสมัยก่อนขอมมีอำนาจครอบครองแถวนี้ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจ สุโขทัยก็มาต่อเติม และมีเจดีย์อยู่ทางด้านหน้าวิหารหลวงตัววิหารและเจดีย์จะยกพื้นเตี้ยตามแบบฉบับสุโขทัย ซึ่งส่วนใหญ่ไปพังทลายลงหมดแล้วเหลือไว้แต่เพียงซาปรักหักพังเพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนปราสาทขอมนั้นจะมประตูทางเข้าทางด้านหน้าทางเดียวเท่านั้น ส่วนด้านหลังจะเป็นประตูหลอกไว้ซึ่งจะเข้าไม่ได้


วัดศรีชุม
บริเวณวัดจะประกอบไปด้วยวิหารซึ่งได้พังทลายลงไปเกือบหมดแล้ว และมีมณฑบอยู่ด้านหลังซึ่งหลังคาได้พังทลายไปแล้วตอนนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าสมัยก่อนนั้นหลังคาป็นแบบไหน            มีพระใหญ่อยู่ในมณฑบก่อกำแพงหนาล้อมรอบพระพุทธรูปไว้ กำแพงที่ล้อรอบพระนั้นจะหนา มีทางเดินขึ้นไปบนหลังคาได้ ซุ้มประตูทางเข้ามณฑบนั้นจะเผยให้เห็นตัวพระพุทธรูปบางส่วน ให้ความรู้สึกลึกลับน่าค้นหาเชิญชวนให้เข้าไป โดยรวมแล้วตัววัดนั้นจะก่อด้วยอิฐและศิลาแลงทั้งหมด และด้านข้างมีต้นมะม่วงอายุ 600-700 ปี อยู่คู่กับโบราณสถานจนกลายเป็นองค์ประกอบของโบราณสถานไปแล้ว ถ้าไม่มีต้นมะม่วงนี้ถูกตัดไปจะทำให้ตัวพระจะดูใหญ่ก่อนไปไม่สอดคล้องกับ Landscape และยังเป็นตัวบ่งบอกถึงกาลเวลาที่ยาวนานอีกด้วย  


วัดศรีสวาย
                เป็นวัดที่มีปรางค์แบบขอม ล้อเลียนศาสนาฮินดูก่อและเป็นวัดที่มีการก่อศิลาแลงได้เนี๊ยบมากการเรียงศิลาแลงทำให้เส้นแนบสนิทกัน กำแพงศิลาแลงล้อมรอบตัววัดทำจากศิลาแลงซึ่งโชว์ Texture การเรียงศิลาแลงและมีซุ้มประตูรับทางเข้าอยู่ที่ด้านหน้าช่วยบังตัวพระปรางค์๓องค์ที่อยู่ทางด้านหลังวิหารให้เห็นแค่พระปรางค์ตัวกลางแค่ตัวเดียว แต่เมื่อเข้าไปจะเห็นพระปรางค์ทั้ง๓องค์ซึ่งมีลายปูนปั้นที่วิจิตรสวยงามและเมื่อเดินเข้ามาจะเจอวิหารก่อด้วยอิฐ ข้างหน้าเป็นโถงมุข ผนังเป็นปูนฉาบเปลือยเปล่า แต่ปูนที่ฉาบกลับลอกออก ทำเห็นTexture ของศิลาแลง และอิฐ ซึ่งดูแล้วเหมือนเป็นการเล่นความหลากหลายของ Texture และมีผนังเจาะรูเป็นช่องตั้งซึ่งช่องหน้าต่างแบบนี้จะเป็นเอกลักษณะของสุโขทัยการ ปิดล้อมพื้นที่ด้วยกำแพงอิฐที่มีลีลาพิสดารโดยคนโบราณก็ไม่ได้คาดหวัง แต่ในยุค สถาปัตยกรรม โมเดิร์นกลับเห็นความงามที่สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นไม่ว่าจะเป็นการปิดล้อม SPACE หรือการเจาะช่องเปิด หรือ การโชว์ Texture ล้วนแล้วแต่นำมาปรับใช้ได้กับสถาปัตยกรรมโมเดิร์นได้ทั้งหมด



หมู่บ้าน จ.สุโขทัย
                ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านไม้มุงด้วยหลังคาสังกะสี ที่น่าสนใจก็คือการใช้ระนาบของฝาผนัง มากั้น Space ต่างๆทำให้เกิดพื้นที่ปิดล้อมที่ทึบบ้างโปร่งบ้าง และ ด้วยความหลากหลายของ Material ทำให้เกิดเส้นสายที่ไม่เหมือนกันมาสอดแทรกกันจนเกิดความงามขึ้น โดยรวมๆแล้วตัวบ้านนั้นยังดำเนินไปตามวิถีชีวิตของผู้อยู่และการซ่อมแซมบ้านก็ใช้วัสดุในท้องที่ซึ่งหาได้ง่าย


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น